วันนี้เหมือนจะเป็นวันที่ยุ่งอีกวันหนึ่ง แต่มันไม่ใช่
เหมือน มันยุ่งจริงๆ
วันนี้ผมลืมสมัคร อ.อรรณพ ไม่รู้เต็มไปรึยัง รู้สึกเซงมากๆ
ไม่รู้ว่าตอนนี้จะสมัครทันรึปล่าว
ไหนจะต้องทำงาน website ซึ่งงานนี้ใช่เวลาทำงานมาก
WELCOME !
สวัสดีครับ
หลายคนที่เข้ามา Blog ผม อาจจะสงสัยว่า
ทำไม Blog นี้ มีแต่เรื่อง กล้อง
ก้คือ ผมชอบมันนะครับ : )
หลายคนที่เข้ามา Blog ผม อาจจะสงสัยว่า
ทำไม Blog นี้ มีแต่เรื่อง กล้อง
ก้คือ ผมชอบมันนะครับ : )
มด macro
ตั๊กแตน macro
29 มกราคม 2551
เมื่อวานของผม
เมื่อวานนี้ ผมยุ่งมากเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ตอนกลับบ้าน
กะว่าจะกลับมานอนก่อน แล้วค่อยตื่นมาอ่านหนังสือตอน 3 ทุ่ม
แต่พอนอนไปถึง 3 ทุ่ม นาฬิกาปลุก มันไม่ยอมปลุก ทำให้นอนไปถึงตอนเช้า
ตื่นมารู้สึกเสียดายเวลาช่วงค่ำคืนนั้นมากๆ
กะว่าจะกลับมานอนก่อน แล้วค่อยตื่นมาอ่านหนังสือตอน 3 ทุ่ม
แต่พอนอนไปถึง 3 ทุ่ม นาฬิกาปลุก มันไม่ยอมปลุก ทำให้นอนไปถึงตอนเช้า
ตื่นมารู้สึกเสียดายเวลาช่วงค่ำคืนนั้นมากๆ
22 มกราคม 2551
แฉ!!! ระบบกันฝุ่นกล้อง DSLR ใครอยู่-ใครไป 2007-03-28
ฝุ่นกับเซ็นเซอร์รับภาพเป็นของที่ไม่ถูกกันมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะกล้องแบบ DSLR ที่มีการเปลี่ยนเลนส์อยู่บ่อยๆ ดังนั้นโอกาสที่ฝุ่นจะเข้าไปถึงเซ็นเซอร์รับภาพได้นั้นมีมาก ในอดีตกล้องดิจิตอล DSLR จะต้องมีส่งเข้าศูนย์ เข้าร้านซ่อม เพื่อทำการล้างฝุ่นออกจากเซ็นเซอร์อยู่เป็นประจำ
จนกระทั่ง Olympus ได้คิดค้นระบบกำจัดฝุ่นด้วยตัวเองขึ้นมาในชื่อ Supersonic Wave Filter แล้วนำมาใส่ในกล้องดิจิตอล DSLR ของ Olympus ทุกรุ่น ซึ่งระบบนี้ก็สามารถทำงานได้ดี จนมีชื่อเสียงชนิดที่ว่าคนที่ใช้กล้องดิจิตอล DSLR ยี่ห้ออื่นๆ ต่างเรียกร้องอยากได้ระบบกำจัดฝุ่นบ้าง เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลาล้างเซ็นเซอร์รับภาพอีกต่อไป
ระบบกำจัดฝุ่นของ Olympus มีหัวใจอยู่ที่ แผ่นวัสดุบางๆที่ปิดตัวเซ็นเซอร์รับภาพเอาไว้ โดยที่แผ่นนี้สามารถสั่นได้ ในระดับอัลตราโซนิค (สั่นมากกว่า 20,000 ครั้งต่อนาที) ซึ่งเป็นช่วงระดับความสั่นที่นิยมใช้ในการทำความสะอาด โดยที่อัตราการสั่นในระดับนี้ จะทำให้ฝุ่นที่ติดอยู่บนแผ่นวัสดุหลุดออกได้โดยง่าย
รายถัดมาที่ทำระบบกำจัดฝุ่นก็คือ Sony Alpha ซึ่งนับเป็นเจ้าแรกที่ทำระบบนี้ขึ้นมาหลังจากปล่อยให้มีเพียง Olympus มีระบบกำจัดฝุ่นอยู่เพียงเจ้าเดียวมานานหลายปี ทาง Sony Alpha ได้ออกระบบระบบกำจัดฝุ่นมาในเดือน มิถุนายน 2550 ซึ่งมาพร้อมกับ Sony Alpha A-100
ระบบกำจัดฝุ่นของ Sony Alpha A-100 พัฒนามาจากระบบกันภาพสั่นไหวที่ CCD ซึ่งระบบกันภาพสั่นไหว จะทำการเคลื่อน CCD (เซ็นเซอร์สำหรับรับภาพ) เพื่อชดเชยการสั่นของกล้อง ทำให้ได้ภาพที่คมชัด แม้ตัวกล้องมีการสั่นเล็กน้อย
ด้วยระบบกันสั่นนี้ทาง Sony Alpha ก็ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นระบบกำจัดฝุ่น โดยการสั่งให้ CCD เคลื่อนเป็นจังหวะ ด้วยความไวสูง (สั่นประมาณ 100 รอบต่อนาที) เพื่อให้ฝุ่นที่เกาะอยู่บน CCD หลุดออกมาได้ นอกเหนือจากการสั่น CCD แล้ว Sony Alpha ยังได้เคลือบผิวของ CCD ด้วย indium-tin oxide เพื่อช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิตบน CCD อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฝุ่นที่เกาะอยู่นั้นหลุดออกไปยาก
Canon ก็เป็นอีกค่ายหนึ่งที่ออกระบบกำจัดฝุ่น ตาม Sony Alpha มาติดๆ โดยได้นำมาใช้กับกล้องรุ่น EOS-400D โดยใช้หลักการคล้ายกับของทาง Olympus โดยได้เพิ่มระบบสั่นไปยังฟิลเตอร์ด้านนอกสุดที่ปิด CMOS (เซ็นเซอร์รับภาพอีกชนิดหนึ่ง) เอาไว้ เพื่อทำการสั่นให้ฝุ่นที่เกาะอยู่หลุดออกมาได้
นอกเหนือไปจากระบบกำจัดฝุ่นทาง Canon ยังได้มีระบบซอฟแวร์ที่จะทำการเก็บข้อมูลฝุ่นที่เกาะอยู่บน CMOS แล้วบันทึกข้อมูลลงไฟล์รูปภาพ เพื่อนำไปใช้ในการลบฝุ่นออกจากภาพด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพได้ โดยระบบกำจัดฝุ่นและระบบเก็บข้อมูลฝุ่นที่เกาะอยู่บน CMOS นี้ เรียกรวมกันว่า Canon EOS Integrated Cleaning System
ค่ายสุดท้ายที่มีระบบกำจัดฝุ่น ก็คือPentax โดยได้นำไปใส่ไว้ในรุ่น K10D สำหรับระบบกำจัดฝุ่นของ Pentax ก็ใช้ระบบเหมือนๆ กับ Sony Alpha ทุกประการ คือใช้วิธีการสั่นที่เซ็นเซอร์รับภาพ สำหรับค่ายผู้ผลิตกล้องยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ 4 ยี่ห้อที่กล่าวถึงนี้ยังไม่มีระบบกำจัดฝุ่นออกมาในตอนนี้
ทดลองของจริง ระบบกำจัดฝุ่นทุกยี่ห้อ
ก่อนจะเข้าสู่การทดลองและผลการทดลอง ก็ต้องขอบอกกว่าว่าการทดลองนี้เป็นการทดลอง ที่ทำโดยเว็บไซต์ต่างประเทศ pixinfo.com ดังนั้น ทางทีมงาน TechXcite จะไม่ขอลงรายละเอียด ที่ลึกมากนักแต่จะแปลแบบจับใจความมาให้พอเข้าใจ สำหรับคนที่อยากทราบข้อมูล ที่มากกว่าที่แปลมาก็สามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างสุดเพื่อไปอ่านผลทดสอบ ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ครับ
สำหรับการทดลองที่เค้าทำ เค้าได้ทำความสะอาดเซ็นเซอร์รับภาพของกล้องที่มาทดสอบให้สะอาดที่สุด แล้วนำมาทดลองโดยมีการเก็บข้อมูลดังนี้
1. ถ่ายภาพก่อนการทดลองเก็บไว้(reference)
2. เอาฝุ่นพ่นเข้าไปตรงเซ็นเซอร์รับภาพแล้วถ่ายภาพเก็บไว้(dusting)
3. ทำการสั่งให้กล้องกำจัดฝุ่น 2 ครั้ง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้(2nd cleaning)
4. สั่งใก้กล้องล้างฝุ่นต่อไปอีกจนครบ 25 ครั้ง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้ (25th cleaning)
5. เป่าฝุ่นด้วยลูกยาง 2 ครั้ง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้ (2nd blowing)
6. ล้างเซ็นเซอร์ด้วยน้ำยาล้าง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้ (Final)
***ภาพผลการทดลองดูได้ที่ pixinfo.com
ที่มา : http://www.techxcite.com/articledetail.php/article/27/
จนกระทั่ง Olympus ได้คิดค้นระบบกำจัดฝุ่นด้วยตัวเองขึ้นมาในชื่อ Supersonic Wave Filter แล้วนำมาใส่ในกล้องดิจิตอล DSLR ของ Olympus ทุกรุ่น ซึ่งระบบนี้ก็สามารถทำงานได้ดี จนมีชื่อเสียงชนิดที่ว่าคนที่ใช้กล้องดิจิตอล DSLR ยี่ห้ออื่นๆ ต่างเรียกร้องอยากได้ระบบกำจัดฝุ่นบ้าง เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลาล้างเซ็นเซอร์รับภาพอีกต่อไป
ระบบกำจัดฝุ่นของ Olympus มีหัวใจอยู่ที่ แผ่นวัสดุบางๆที่ปิดตัวเซ็นเซอร์รับภาพเอาไว้ โดยที่แผ่นนี้สามารถสั่นได้ ในระดับอัลตราโซนิค (สั่นมากกว่า 20,000 ครั้งต่อนาที) ซึ่งเป็นช่วงระดับความสั่นที่นิยมใช้ในการทำความสะอาด โดยที่อัตราการสั่นในระดับนี้ จะทำให้ฝุ่นที่ติดอยู่บนแผ่นวัสดุหลุดออกได้โดยง่าย
รายถัดมาที่ทำระบบกำจัดฝุ่นก็คือ Sony Alpha ซึ่งนับเป็นเจ้าแรกที่ทำระบบนี้ขึ้นมาหลังจากปล่อยให้มีเพียง Olympus มีระบบกำจัดฝุ่นอยู่เพียงเจ้าเดียวมานานหลายปี ทาง Sony Alpha ได้ออกระบบระบบกำจัดฝุ่นมาในเดือน มิถุนายน 2550 ซึ่งมาพร้อมกับ Sony Alpha A-100
ระบบกำจัดฝุ่นของ Sony Alpha A-100 พัฒนามาจากระบบกันภาพสั่นไหวที่ CCD ซึ่งระบบกันภาพสั่นไหว จะทำการเคลื่อน CCD (เซ็นเซอร์สำหรับรับภาพ) เพื่อชดเชยการสั่นของกล้อง ทำให้ได้ภาพที่คมชัด แม้ตัวกล้องมีการสั่นเล็กน้อย
ด้วยระบบกันสั่นนี้ทาง Sony Alpha ก็ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นระบบกำจัดฝุ่น โดยการสั่งให้ CCD เคลื่อนเป็นจังหวะ ด้วยความไวสูง (สั่นประมาณ 100 รอบต่อนาที) เพื่อให้ฝุ่นที่เกาะอยู่บน CCD หลุดออกมาได้ นอกเหนือจากการสั่น CCD แล้ว Sony Alpha ยังได้เคลือบผิวของ CCD ด้วย indium-tin oxide เพื่อช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิตบน CCD อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฝุ่นที่เกาะอยู่นั้นหลุดออกไปยาก
Canon ก็เป็นอีกค่ายหนึ่งที่ออกระบบกำจัดฝุ่น ตาม Sony Alpha มาติดๆ โดยได้นำมาใช้กับกล้องรุ่น EOS-400D โดยใช้หลักการคล้ายกับของทาง Olympus โดยได้เพิ่มระบบสั่นไปยังฟิลเตอร์ด้านนอกสุดที่ปิด CMOS (เซ็นเซอร์รับภาพอีกชนิดหนึ่ง) เอาไว้ เพื่อทำการสั่นให้ฝุ่นที่เกาะอยู่หลุดออกมาได้
นอกเหนือไปจากระบบกำจัดฝุ่นทาง Canon ยังได้มีระบบซอฟแวร์ที่จะทำการเก็บข้อมูลฝุ่นที่เกาะอยู่บน CMOS แล้วบันทึกข้อมูลลงไฟล์รูปภาพ เพื่อนำไปใช้ในการลบฝุ่นออกจากภาพด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพได้ โดยระบบกำจัดฝุ่นและระบบเก็บข้อมูลฝุ่นที่เกาะอยู่บน CMOS นี้ เรียกรวมกันว่า Canon EOS Integrated Cleaning System
ค่ายสุดท้ายที่มีระบบกำจัดฝุ่น ก็คือPentax โดยได้นำไปใส่ไว้ในรุ่น K10D สำหรับระบบกำจัดฝุ่นของ Pentax ก็ใช้ระบบเหมือนๆ กับ Sony Alpha ทุกประการ คือใช้วิธีการสั่นที่เซ็นเซอร์รับภาพ สำหรับค่ายผู้ผลิตกล้องยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ 4 ยี่ห้อที่กล่าวถึงนี้ยังไม่มีระบบกำจัดฝุ่นออกมาในตอนนี้
ทดลองของจริง ระบบกำจัดฝุ่นทุกยี่ห้อ
ก่อนจะเข้าสู่การทดลองและผลการทดลอง ก็ต้องขอบอกกว่าว่าการทดลองนี้เป็นการทดลอง ที่ทำโดยเว็บไซต์ต่างประเทศ pixinfo.com ดังนั้น ทางทีมงาน TechXcite จะไม่ขอลงรายละเอียด ที่ลึกมากนักแต่จะแปลแบบจับใจความมาให้พอเข้าใจ สำหรับคนที่อยากทราบข้อมูล ที่มากกว่าที่แปลมาก็สามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างสุดเพื่อไปอ่านผลทดสอบ ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ครับ
สำหรับการทดลองที่เค้าทำ เค้าได้ทำความสะอาดเซ็นเซอร์รับภาพของกล้องที่มาทดสอบให้สะอาดที่สุด แล้วนำมาทดลองโดยมีการเก็บข้อมูลดังนี้
1. ถ่ายภาพก่อนการทดลองเก็บไว้(reference)
2. เอาฝุ่นพ่นเข้าไปตรงเซ็นเซอร์รับภาพแล้วถ่ายภาพเก็บไว้(dusting)
3. ทำการสั่งให้กล้องกำจัดฝุ่น 2 ครั้ง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้(2nd cleaning)
4. สั่งใก้กล้องล้างฝุ่นต่อไปอีกจนครบ 25 ครั้ง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้ (25th cleaning)
5. เป่าฝุ่นด้วยลูกยาง 2 ครั้ง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้ (2nd blowing)
6. ล้างเซ็นเซอร์ด้วยน้ำยาล้าง แล้วถ่ายภาพเก็บไว้ (Final)
***ภาพผลการทดลองดูได้ที่ pixinfo.com
ที่มา : http://www.techxcite.com/articledetail.php/article/27/
21 มกราคม 2551
Dynamic Range สิ่งสำคัญที่หลายคนมองข้าม
Dynamic Rage คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไร
หลายๆคนอาจสงสัยว่า Dynamic Range คืออะไร มันก็คือช่วงของความสามารถในการเก็บราย
ละเอียดของแสง (ไม่เกี่ยวกับความคมชัดของภาพนะครับ) มันมีสองด้าน คือด้านมืด และด้านสว่าง แต่ส่วนใหญ่แล้วปัญหาของกล้องดิจิตอลคือความสามารถในการเก็บรายละเอียดแสงในด้านสว่าง
นะครับ คือกล้องคนละตัวกัน ถ่าย shot เดียวกัน แสงเดียวกัน ถ้ากล้องที่ Dynamic Range ดีกว่า จะสามารถเห็นรายละเอียดของแสงมากกว่า เช่นรายละเอียดของเสื้อสีขาว ถ้ามองไม่เห็นรายละเอียดของเสื้อเลย ขาวเป็นปื้นๆ หรือว่าผิวหน้าคน ส่วนปลายจมูก หรือโหนกแก้มที่โดนแสงแล้วไม่เห็นรายละเอียด ขาวเป็นปื้นๆ อย่างนี้เรียกว่า Dynamic Range ไม่พอ เก็บรายละเอียดไม่ได้นะครับ ในที่นี้รวมไปถึงสีด้วยนะครับ เช่นแดงเป็นปื้นๆ เหลืองเป็นปื้นๆ แบบนี้เรียกกว่า Dynamic Rage ไม่พอเช่นกัน
ภาพที่มี Dynamic Range ที่ดีกว่า จะทำให้ภาพมีความสมบูรณ์มากกว่า หลายๆคนที่ใช้ฟีลม์แล้วหันมาใช้กล้องดิจิตอล
แล้วไม่ชอบกล้องดิจิตอล หนึ่งเหตุุผลหลักๆก็คือเรื่อง Dynamic Range นี่แหละครับ เพราะว่าฟีลม์ทีความสามารถในการเก็บรายละ
เอียดในส่วนสว่างได้ดี ยิ่งฟีลม์ Negative จะดีกว่าฟีลม์ Slide อีกด้วย ทำไมฟีลม์ Negative ถึง Dynamic Range ดีกว่า เดี๋ยวลองอ่านต่อไปเรื่อยๆนะครับ แล้วจะเข้าใจมากขึ้น
กล้องดิจิตอลก็กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาเรื่อง Dynamic Range อยู่นะครับ แล้วก็ทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆซะด้วย วันนึงอาจจะแซงฟีลม์ก็ได้นะครับ หรือว่าแซงไปแล้วก็ไม่รู้ โดยเฉพาะกล้อง Fuji S3Pro เห็นพัฒนาเรื่องนี้เป็นจุดขายของกล้องกันเลย
เอาล่ะทีนี้มาอีกเรื่องนึง ปัจจัยของ Dynamic Range มาจากอะไรได้บ้าง ผมขอแยกเป็นหลายข้อหลักๆดังนี้นะครับ
1. ประสิทธิภาพของเซนเซอร์กล้อง
2. ประสิทธิภาพของการประมวลผลกล้อง
3. Contrast ของภาพ
(รวมทั้งปรับจากตัวกล้อง หรือปรับจากโปรแกรมแต่งภาพ)
4. Saturation ของภาพ
(รวมทั้งปรับจากตัวกล้อง หรือปรับจากโปรแกรมแต่งภาพ)
1. ประสิทธิภาพของเซนเซอร์กล้อง
ข้อนี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ ตรงตัวเลย คือว่าขึ้นอยู่กับกล้องนั่นเอง เช่น Fuji S3Pro ที่โมษณาว่า Dynamic Range ดี นั่นเพราะเซนเซอร์เค้าออกแบบมาโดยเฉพาะใน
เรื่องนี้ยิ่งเซนเซอร์ตัวใหม่ๆก็มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาตรงจุดนี้ไปได้เรื่อยๆครับ
2. ประสิทธิภาพของการประมวลผลกล้อง
ข้อนี้ก็คือขึ้นอยู่กับกล้องอีกเหมือนกัน เช่นเซนเซอร์ตัวเดียวกันใช้กับกล้องหลายรุ่น หลายยี่ห้อ แต่ว่าความสามารถในเรื่อง Dynamic Range ก็ต่างกันได้ เพราะขึ้นอยู่กับการประมวลผลของกล้องนั่นเอง
3. Contrast ของภาพ
ข้อนี้แบ่งได้เป็นสองส่วนครับ ส่วนแรกคือการปรับจากตัวกล้อง เช่นค่า Contrast เป็นลบหรือเป็นบวก ค่าต่างๆเหล่านี้มีผลต่อ Dynamic Range ครับ ถ้ากล้องตัวเดียวกัน ค่า Contrast ต่ำ จะมี Dynamic Range ดีกว่าถ่ายที่ค่า Contrast สูงๆ แต่ว่าได้อย่างก็ต้องเสียอย่างครับ คือ Contrast สูงๆภาพจะดูมีสีสันที่สดใสกว่าภาพที่ Contrast ต่ำ ก็อยู่ที่สภาพแสงในแต่ละรูปด้วยครับ ว่าควรจะใช้ค่าไหน แต่ถ้าผมแนะนำ ถ่าย Raw เอาไว้ดีที่สุดครับ เพราะนั่นคือเก็บทุกอย่างที่ความสามารถกล้องตัวนั้นๆจะทำได้เลยครับ
ส่วนที่ของก็คือส่วนเราปรับเองในโปรแกรม
แต่งภาพ เช่น Photoshop นะครับ บางคนเห็นภาพสีสันไม่ค่อยสวย เลยปรับ Contrast มากขึ้น แน่นอนครับ ว่าสีสันของภาพจะต้องดูสดใสขึ้น แต่ยิ่งที่แลกมาก็คือรายละเอียดในส่วนสว่างนะ
ครับ ก็คือว่าสีสันที่สดใสมักจะสวนทางกับ Dynamic Range อยู่เสมอ นี่ก็คือเหตุผลที่ฟีมล์ Slide ถึงมี Dynamic Range สู้ฟีลม์ Negative ไม่ได้ ก็เพราะว่าฟีลม์ Slide มีสีสันที่สดกว่าฟีลม์ Negative ไงครับ อย่าลืมนะครับ Contrast กับ Dynamic Range มันคู่กัน คือได้อย่างต้องเสียอย่างครับ
มาดูสรุปกันบ้างนะครับ เหตุผลที่ผมเขียนบทความนี้ก็คือ ผมได้เข้าไปดูรูปที่คนหัดถ่ายรูปโพสมาให้ดู ผมว่าหลายๆภาพน่าเสียดายที่รายละเอียดใน
ส่วนสว่างมันไม่ดีเอาซะเลย ทั้งๆที่ภาพสวย จริงๆผมคิดว่าภาพเหล่านั้น ต้นฉบับคงมีรายละเอียดในส่วนสว่างอยู่ แต่ว่าหลายๆคนปรับภาพโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องตรงจุดนี้ เค้าเพียงต้องการให้ภาพมีสีสันสดใส สว่างๆ จึงได้ปรับทั้ง Contrast หรือปรับ Saturate ด้วย เลยทำให้ภาพขาดความสมบูรณ์ไปไม่น้อย และคนจำนวนมากก็ชมภาพเหล่านี้ จริงๆอยู่ว่าภาพสวย แต่ว่าอย่าลืมดู
Dynamic Range ด้วยนะครับ เพื่อความสมบูรณ์ของภาพจริงๆ
กล้องก็มีผลต่อ Dynamic Range ด้วยเช่นกัน
หวังว่าทุกคนคงจะพอเข้าในในเรื่อง Dynamic Range กันบ้างนะครับ
ที่มา : http://www.thecameracity.com/article_inside.php?articles_id=1
เรียนรู้เรื่องถ่ายภาพ 1
เลนส์ของกล้องดิจิตอล
กล้องดิจิตอลต้องอาศัยเลนส์เช่นเดียวกับกล้องใช้ฟิล์ม เลนส์ของกล้องดิจิตอลทำหน้าที่รวมแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุ ทำให้เกิดภาพบน Image Sensor เช่นเดียวกับเลนส์ตาทำหน้าที่รวมแสงให้เกิดภาพ เลนส์ทำหน้าที่ควบคุมมุมการรับภาพ หรือมุมการมองเห็นของอิมเมจเซ็นเซอร์ว่าจะเก็บภาพได้กว้างหรือแคบเพียงไร เลนส์มีผลต่อขนาดวัตถุที่ปรากฏในภาพเลนส์มุมกว้างให้ภาพมุมกว้าง วัตถุที่ปรากฏในภาพมีขนาดเล็ก ส่วนเลนส์ถ่ายไกลให้ภาพที่ปรากฏเป็นมุมแคบๆ เจาะส่วน และขนาดภาพที่ปรากฏจะใหญ่ เลนส์มีผลต่อสัดส่วนของภาพ และเลนส์ทำหน้าควบคุมปริมาณแสง คุณภาพของเลนส์มีผลอย่างมากต่อสีสัน ความคมชัด และรายละเอียดบน Image Sensor เลนส์คุณภาพสูงหรือเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะจะให้ภาพที่ดีกว่าเลนส์ทั่วไปมากๆ เมื่อใช้กับกล้องดิจิตอล
เลนส์ของกล้องดิจิตอลและกล้องถ่ายภาพทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นเลนส์ประเภทต่างๆ โดยอาศัยทางยาวโฟกัสของเลนส์ ซึ่งทางยาวโฟกัสคือ ระยะทางระหว่างกึ่งกลางของเลนส์ (ในกรณีที่เป็นเลนส์ชิ้นเดียว) จนถึงอิมเมจเซ็นเซอร์ เลนส์ทางยาวโฟกัสสั้นที่มุมการรับภาพกว้าง เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงมีมุมการรับภาพแคบ เลนส์ตัวเดียวกันเมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ต่างขนาดกัน มุมการรับภาพก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย เช่น เลนส์ 25 มม. เมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ขนาด 1/2 นิ้วจะเป็นเลนส์เทเลโฟโต้ แต่เมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ขนาด 1.5 นิ้ว กลับกลายเป็นเลนส์มุมกว้าง
1. เลนส์ตาปลา (Fish-eye) คือ เลนส์ที่มีมุมการรับภาพกว้าง 180 องศา ทุกอย่างที่อยู่หน้าเลนส์จะปรากฏลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์มี 2 แบบคือ เลนส์ตาปลาแบบวงกลม จะเป็นภาพวงกลมขอบดำ และเลนส์ตาปลาแบบเต็มภาพ (Full-Frame) ขอบภาพที่เป็นเส้นตรงจะบิดโค้งมากๆ เหมาะกับภาพที่ต้องการมุมการรับภาพกว้างมากๆ หรือภาพที่ต้องการความบิดเบือนของเส้นตรง
2. เลนส์มุมกว้าง (Wide-Angle Lens) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่าเส้นทแยงมุมของอิมเมจเช็นเซอร์ มีตั้งแต่ให้มุมภาพกว้างมากๆ (Super Wide) และเลนส์มุมกว้างปกติ (Wide) เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการมุมภาพกว้างๆ หรือถ่ายภาพกว้างในพื้นที่จำกัด ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ภาพหมู่ หรือภาพถ่ายในระยะใกล้ๆ เพื่อให้เกิดความผิดเพี้ยนของสัดส่วน
3. เลนส์เทเลโฟโต้ (Telephoto) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงกว่าเส้นทแยงมุมของอิมเมจเซ็นเซอร์ มุมการรับภาพจะแคบ เหมาะกับการถ่ายภาพระยะไกลให้ดูใกล้ ภาพในลักษณะแอบถ่ายจากระยะไกล ภาพสัตว์ป่า ภาพบุคคล ฯลฯ เลนส์ถ่ายไกลยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Telephoto และ Super Telephoto
4. เลนส์มาตรฐาน (Normal Lens) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทแยงมุมของอิมเมจเช็นเซอร์ ใช้ในการถ่ายภาพทั่วๆ ไป
5. เลนส์ซูม (Zoom Lens) คือเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ในตัวเดียวกัน สามารถให้ภาพกว้างและแคบได้ เป็นเลนส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและยังให้คุณภาพที่ดียอมรับได้ สามารถแบ่งออกเป็นหมวดย่อยๆ เช่น เลนส์ซูมมุมกว้าง เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ เลนส์ซูมมุมกว้าง-เทเลโฟโต้ ส่วนเลนส์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้เรียกว่าเลนส์เดี่ยว (Fixed Focal Length Lens) จะให้คุณภาพที่ดีกว่าเลนส์ซูม แต่ไม่สะดวกในการใช้งานเท่าไรนัก เหมาะกับการถ่ายภาพคุณภาพสูงมากๆ เป็นหลัก
นอกจากการแบ่งตามความยาวโฟกัสของเลนส์แล้ว ยังแบ่งเลนส์ออกเป็นหมวดย่อยๆ ตามลักษณะพิเศษของเลนส์ได้ เช่น
1. เลนส์มาโคร (Macro Lens) คือ เลนส์ที่ออกแบบให้ใช้ถ่ายภาพในระยะใกล้กว่าปกติ ซึ่งเลนส์ทั่วไปจะไม่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ ได้ เช่น เลนส์ 105 มม.มาโคร 200 มม.มาโคร
2. เลนส์ Soft เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับการถ่ายภาพบุคคล สามารถทำให้ภาพนุ่มๆ ได้และปรับระดับความนุ่มนวลได้อีกด้วย เช่น 135 มม.F/2 DC
3. เลนส์กระจก (Mirror Lens) เป็นเลนส์ที่ใช้กระจกสะท้อนภาพแทนชิ้นเลนส์ใส เพื่อลดขนาดเลนส์และทำให้เลนส์มีต้นทุนถูกลง เช่น 500 มม. f/8 Mirror แต่คุณภาพของภาพถ่ายที่ได้จะไม่ดีเท่าไรนัก
4. เลนส์ควบคุมสัดส่วนของภาพ (Perspective Control Lens) เป็นเลนส์ที่สามารถแก้การบิดเบือนของภาพ ใช้ในการถ่ายภาพงานสถาปัตยกรรม ภาพทิวทัศน์ที่ต้องการความสมจริง หรือใช้ในการเปลี่ยนแปลงระนาบความคมชัดเพื่อให้ได้คามชัดลึกสูงสุด เช่น 28 มม.PC
5. เลนส์ป้องกันความสั่นไหวของภาพ (Vibration Control Lens) เป็นเลนส์ที่มีกลไกพิเศษช่วยป้องกันการสั่นไหวของภาพได้ เหมาะกับการถ่ายภาพในที่สภาพแสงน้อยๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำ เพื่อป้องกันการสั่นไหวของมือ แต่ไม่สามารถชดเชยการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
6. เลนส์แก้ความคลาดสี (Aporhromatic Correction Lens) มักใช้ชื่อทางการค้าว่า ED, L, APO คือ เลนส์ที่ใช้ชิ้นเลนส์พิเศษที่มีการกระจายแสงต่ำ ดัชนีหักเหสูง (High Reflexive Index Low Dispersion Glass) เพื่อลดความคลาดสีบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพมีความคมชัดสีสันสมจริงมากยิ่งขึ้น
7. เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เป็นเลนส์ที่ใช้ชิ้นเลนส์พิเศษที่ผิวหน้าไม่เป็นทรงกลม เรียกว่าชิ้นเลนส์ Aspherical Lens (เลนส์ปกติผิวหน้าจะเป็นทรงโค้งวงกลม) เพื่อแก้แสงบริเวณของภาพให้ตกในระนาบเดียวกันทำให้ภาพกลางภาพและขอบภาพมีความคมชัดใกล้เคียงกัน ซึ่งมักใช้ในเลนส์มุมกว้างและเลนส์ซูมคุณภาพสูง
เลนส์สำหรับกล้องดิจิตอลแบบคอมแพคจะเป็นเลนส์ซูมมุมกว้างเทเลโฟโต้ เพื่อให้ใช้งานได้หลายหลาย ส่วนเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอลแบบ SLR จะเป็นเลนส์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ จะเป็นเลนส์เดี่ยวหรือซูมขึ้นกับผู้ซื้อ การเลือกควรดูว่าจะนำไปใช้งานอย่างไร เพราะเลนส์แต่ละเลนส์ประเภทมีจุดประสงค์และจุดเด่นในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปควรมีเลนส์ตั้งแต่มุมกว้างปานกลาง (0.25เท่าของเส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์) ไปจนถึงเทเลโฟโต้ปานกลาง (4เท่าของเส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์) ซึ่งทางยาวโฟกัสจะเป็นเท่าไรนั้นขึ้นกับว่าขนาดอิมเมจเซ็นเซอร์มีขนาดเท่าไร ไม่สามารถระบุได้ ต้องดูกล้องเป็นรุ่นๆ ไป
กล้องดิจิตอล มักจะระบุทางยาวโฟกัสของเลนส์ไว้ 2 แบบ คือ ทางยาวโฟกัสที่แท้จริง กับทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากล้อง 35มม. ที่ใช้ฟิล์มขนาด 135 ภาพ ขนาด 24x36 มิลลิเมตร เช่น เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 5-40 มม. จะเทียบเท่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 25-200 มม. เป็นต้น
ทางยาวโฟกัสของเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR มักบอกทางยาวโฟกัสเป็นค่าทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับกล้องฟิล์ม 135 และระบุตัวคูณทางยาวโฟกัส เช่น 1.7 เท่า เพื่อให้ทราบว่าเมื่อนำเลนส์ไปใช้กับกล้องดิจิตอลจะมีขนาดทางยาวโฟกัสเท่าไร เช่น เลนส์ 50 มม. เมื่อนำไปใช้กับกล้องดิจิตอล 1.5 เท่า จะกลายเป็นเลนส์ขนาด 75 มม. เป็นต้น
ระบบต่างๆ ของกล้องดิจิตอล
1. การกำหนดขนาดภาพ (Image Size) ขนาดภาพของกล้องดิจิตอล คือ จำนวน Pixels ในภาพที่บันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
1. จำนวน Pixels บน Image Sensor หมายถึงจำนวน Pixels ทั้งหมดที่อยู่บน Image Sensors
2. จำนวน Pixels ที่ถูกใช้งานในการบันทึกภาพ ซึ่งจะเรียกว่า “Effective Pixels” จำนวน Effective
Pixels จะน้อยกว่าจำนวน Pixels ทั้งหมดบน Image Sensor บางครั้งเราเรียกว่า “Optical Resolution”
3. จำนวน Pixels ที่บันทึกลงบนภาพ มักเรียกว่า “Recording Pixels” หรือ “Output Pixels” เป็นจำนวน Pixels จริงที่จะถูกบันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูลโดยจะมีจำนวนใกล้เคียงกับ Effective Pixels แต่กล้องบางตัวอาจจะมี Recording Pixels มากกว่า Effective Pixels ถึง 1.5 หรือ 2 เท่า ซึ่งจำนวน Pixels ที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะได้จากการจำลองข้อมูลจาก Effective Pixels ขึ้นมาเพื่อให้ภาพมีจำนวน Pixels มากขึ้น แต่คุณภาพโดยรวมจะไม่เพิ่มขึ้น
การเลือกซื้อกล้องดิจิตอลหรือการเลือกขนาดความละเอียดของภาพมาใช้งาน จะพิจารณาจากจำนวน Effective Pixels โดยกล้องที่มีจำนวน Effective Pixels มากมีแนวโน้มว่าจะมีคุณภาพดีกว่ากล้องที่มีจำนวน Effective Pixels น้อย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของ Image Sersor ขนาด Photo detector ความลึกสี ระบบประมวลผล เลนส์ และส่วนประกอบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะเลือกจำนวน Pixels ในการถ่ายภาพได้หลายค่า เช่น กล้องขนาด 5 ล้านพิกเซล อาจจะเลือกถ่ายภาพได้ที่ 5 ล้านพิกเซล, 3 ล้านพิกเซล, 1 ล้านพิกเซล และ 7 แสนพิกเซล โดยทั่วไปเราสามารถเข้าไปเลือกความละเอียดของภาพได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้วเข้าไปที่ Image Size (หรือ Quality) จะปรากฏเมนูในการตั้งความละเอียดของภาพขึ้น
โดยทั่วไปภาพที่มีจำนวน Pixels มาก จะสามารถนำไปขยายภาพขนาดใหญ่ได้ดีกว่าภาพที่มีจำนวน Pixels น้อย โดยให้ความละเอียดและความคมชัดที่ดีกว่า ภาพแตกเป็นสี่เหลี่ยมได้ยากกว่า แต่จำนวน Pixels ที่มากกว่าต้องใช้เนื้อที่ของหน่วยความจำในการเก็บข้อมูลมากกว่า สิ้นเปลืองพลังงานในการประมวลผลมากกว่า กล้องทำงานช้ากว่า ทั้งการเก็บข้อมูลและการเรียกดูภาพบนการ์ดเก็บข้อมูล การตั้งความละเอียดไว้สูงสุดอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการบันทึกภาพด้วยกล้องดิจิตอล เรามีวิธีการในการเลือกความละเอียดของภาพโดยพิจารณาจากการนำภาพไปใช้งาน
1. ถ้าต้องการถ่ายภาพเพื่อส่ง E-Mail หรือใช้ทำ Presentation ในคอมพิวเตอร์ ความละเอียด 1 ล้านพิกเซลถือว่าเพียงพอ
2. ต้องการไปใช้งานพิมพ์ งานอัดขยายภาพด้วยเครื่อง Printer คุณภาพสูง (Photo Quality) ควรดูว่าจะขยายภาพขนาดเท่าไร จากนั้นเอาขนาดภาพคูณด้วย 300 จะได้ขนาดความละเอียดภาพที่ควรจะตั้ง เช่น ขยายภาพขนาด 4x6 ควรตั้งที่ความละเอียด 4x300, 6x300= 1200x1800 Pixels = 2.16 ล้านพิกเซล
ถ้าอัตราขยายภาพสูงมากๆ แต่กล้องไม่สามารถตั้งความละเอียดตามที่ต้องการได้ ก็ควรตั้งความละเอียดไว้ที่สูงสุดเท่าที่กล้องจะสามารถทำได้ ซึ่งภาพที่ได้อาจจะแตกและมีคุณภาพไม่ดีนัก (เมื่อมองในระยะใกล้มากๆ)
3. ใช้งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบ Inkjet ให้ใช้ขนาดภาพที่ต้องการใช้งานคูณด้วย 150 แต่ถ้าเป็นเครื่อง Inkjet ที่มีความละเอียดสูงมากๆ ต้องคูณด้วย 300
กล้องดิจิตอลในระดับ Consumer ในปัจจุบันนั้นมีความละเอียดประมาณ 3 ล้านพิกเซล สามารถอัดขยายภาพขนาด 4x6 นิ้ว (4R) จนถึง 8x10 นิ้ว (8R) ได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนกล้องในระดับ Prosumer มีความละเอียดประมาณ 4-5 ล้านพิกเซล สามารถขยายภาพขนาด A4 (8.25x11.5 นิ้ว) ได้ และกล้องดิจิตอลระดับ Pro ความละเอียด 6 ล้านพิกเซลสามารถขยายภาพขนาด A4 ถึง 10x15 นิ้วได้สบายๆ โดยเฉพาะรูปที่ถ่ายในระยะใกล้ เช่น รูปสินค้า รูปบุคคลครึ่งตัว แต่ถ้าเป็นรูประยะไกลซึ่งต้องการความละเอียดสูงมากๆ จะยังทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก
2. การกำหนดคุณภาพของภาพ (Image Quality)
กล้องดิจิตอลโดยทั่วไปจะเก็บภาพในรูปแบบ Photoshop, TIFF File, JPEG File หรือ RAW File คุณภาพของภาพที่ได้จากไฟล์แบบต่างๆ จะมีคุณภาพแตกต่างกันออกไป เรียกคุณภาพที่เกิดจากรูปแบบการเก็บข้อมูลนี้ว่า Image Quality สามารถเข้าไปตั้งค่า Image Quality ได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้วเข้าไปที่ Image Quality ซึ่ง Image Quality มักจะแบ่งออกเป็นระดับคือ
1. High จะเก็บภาพแบบ TIFF File 8 bit/color ซึ่งจะไม่มีการบีบอัดข้อมูล ทำให้ได้คุณภาพสูงสุดจากกล้องตัวนั้น แต่จะใช้เนื้อที่การเก็บภาพมาก ไฟล์มีขนาดใหญ่ ประมวลผลช้า เปลืองพลังงาน และทำให้ใช้ระบบการถ่ายภาพบางอย่างไม่ได้ หรือได้น้อยลง เช่น ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง เป็นต้น เหมาะสำหรับการเก็บภาพที่ต้องการคุณภาพสูงสุด
2. Fine, Normal, Basic จะเก็บภาพในรูปแบบของ JPEG File 8 bit/color ซึ่งมีการบีบอัดข้อมูล ทำให้เกิดการสูญเสียคุณภาพของภาพไป โดยที่ Fine จะบีบอัดข้อมูลน้อยที่สุดไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า และ Basic บีบอัดข้อมูลมากที่สุด และไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด โดยทั่วไปหากใช้ภาพเพื่องานอัดขยาย แนะนำให้ตั้ง Fine แต่ถ้าต้องการเก็บภาพลงซีดี หรือใช้กับคอมพิวเตอร์ แนะนำให้ใช้ Normal และถ้าต้องการใช้ส่ง E-Mail แนะนำให้ใช้ Basic ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของการ์ดเก็บข้อมูลและจำนวนภาพที่ต้องการบันทึก
3. RAW เป็นไฟล์เฉพาะซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะของกล้องในการเปิด ไม่สามารถใช้โปรแกรมทั่วไปในการเปิดได้ RAW File เป็นข้อมูลดิจิตอลที่มาจาก Image Sensor ไม่ผ่านการปรับแต่งใดๆ จาก Processor ของตัวกล้อง ทำให้ได้คุณภาพที่แท้จริงจากกล้องตัวนั้นๆ โดยเฉพาะการไล่ระดับโทนสี หรือ Bit Depth กล้องดิจิตอลในปัจจุบันจะมีความลึกสีประมาณ12 bit/color แต่เมื่อเก็บภาพเป็น TIFF File จะถูกบีบลงเหลือ 8 bit/color เท่านั้น การเก็บเป็น RAW File จึงทำให้จำนวนเฉดสีที่มากกว่า เมื่อเปิดด้วย Software เฉพาะ จะสามารถปรับแต่งสี ความคมชัดและคุณภาพอื่นๆ ได้ จากนั้นถึงจะเปลี่ยน RAW File ไปเป็น TIFF File และ JPEG File เพื่อการนำไปใช้งานอื่นๆ ต่อไป
มืออาชีพจำนวนมากที่นิยมถ่ายภาพด้วย RAW File และเก็บภาพต้นฉบับลง CD แบบ RAW File เนื่องจากไม่สูญเสียคุณภาพ โดยเฉพาะความลึกสี (Bit Depth) สามารถใช้ Software ในการปรับคุณภาพภายหลังได้ ปรับภาพได้หลากหลายรูปแบบ และแก้ไขใหม่ได้ถ้าไม่พอใจ และถ้าภายหลังมี software รุ่นใหม่ออกมา ก็จะทำให้ภาพมีคุณภาพดีขึ้นด้วย ในขณะที่การเก็บแบบ TIFF File หรือ JPEG ไม่สามารถปรับเปลี่ยนคุณภาพของภาพในภายหลังได้ เมื่อจะใช้งาน จึงค่อยแปลง RAW File เป็น TIFF หรือ JPEG
3. การตั้งความไวแสง
กล้องดิจิตอลไม่มีความไวแสงที่แท้จริง ความไวแสงที่มีให้ปรับตั้งนั้นเป็นความไวแสงเทียบเคียง (ISO Equivalents) เมื่อเทียบกับฟิล์มถ่ายภาพ ความไวแสงของกล้องดิจิตอลจะสามารถปรับตั้งได้หลายค่า มีตั้งแต่ ISO100 ไปจนถึง ISO3200 แล้วแต่รุ่นกล้องความไวแสงสูงจะช่วยให้สามารถใช้ขนาดช่องรับแสงแคบและความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ได้ ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้สะดวก การตั้งความไวแสงของกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะอยู่ที่ MENU > ISO
แต่จะเกิดปัญหาภาพมีสัญญาณรบกวนสูง เนื่องมาจากการเพิ่มความไวแสง กล้องจะต้องเพิ่มสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปในระบบ ทำให้สัญญาณรบกวนสูงตามไปด้วย ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลปัจจุบันพยายามแก้ปัญหาสัญญาณรบกวน โดยการออกแบบวงจรหรือใช้ระบบประมวลผลเพื่อลดสัญญาณรบกวนลงให้เหลือน้อยที่สุด ผลจากสัญญาณรบกวนทำให้ภาพขาดความคมชัด สีไม่อิ่มตัว คล้ายๆ กับเกรนแตกในฟิล์มความไวสูง โดยจะเห็นได้ชัดบริเวณส่วนสีทึบหรือส่วนมืดของภาพ
ควรใช้ความไวแสงต่ำที่สุดเท่าที่ยังสามารถถ่ายภาพได้ในขณะนั้นจะได้ภาพที่ดีสุด
4. การตั้งระดับความคมชัด
กล้องดิจิตอลบางรุ่นสามารถตั้งความคมชัดของภาพได้หลายระดับ โดยการเข้าไปที่ Menu > Sharpness สามารถเลือกความคมชัดได้ 3 ระดับคือ Normal คมชัดปานกลาง, Soft ไม่ปรับความคมชัด และ Hard (Sharp) ปรับความคมชัดสูงสุด โดยปกติจะปรับความคมชัดเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นการถ่ายภาพบุคคลที่ต้องการความนุ่นนวล จะปรับเอาไว้ที่ Soft แล้วถ้าเป็นภาพสินค้า ภาพวิวหรือภาพในระยะไกล จะปรับความคมชัดไว้ที่ Hard ความคมชัดของกล้องดิจิตอลเกิดจากการใช้ Software เมื่อสั่งเพิ่มความคมชัดมากๆ จะเกิดขอบคล้ายๆ กับการใช้คำสั่ง Sharpen ใน Filter ของ Photoshop
5. ความอิ่มตัวของสี (Color Saturation)
ในกล้องดิจิตอลระดับกลางบางรุ่น และกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพ สามารถตั้งความอิ่มตัวของสีได้ โดยการเข้าไปที่ Menu > Color ระดับความอิ่มตัวของสีจะมีให้เลือก 4 ระดับคือ High ความอิ่มตัวของสีสูงสุด, Normal ความอิ่มตัวของสีปานกลาง, Original ไม่มีการปรับความอิ่มตัวของสี และ B&W ภาพขาวดำ โดยปกติจะตั้งความอิ่มตัวของสีเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นกับภาพที่ต้องการความจัดจ้านของสีมากๆ จะตั้งไว้ที่ High ภาพบุคคลมักตั้งเอาไว้ที่ Original เพื่อไม่ให้สีผิวจัดจ้านเกินไป และถ้าต้องการภาพขาวดำตั้งที่ B&W
การปรับความอิ่มตัวของสีมากๆ จะทำการไล่ระดับโทนสีของภาพลดลงเล็กน้อย สีผิวจะเปลี่ยนไป และภาพดูกระด้างขึ้นในบางภาพเหมาะกับการถ่ายภาพวิว หรือภาพสินค้าที่ต้องการสีสดๆ
6. การตั้งระดับความเปรียบต่าง (Contrast, Tone)
กล้องดิจิตอลในรุ่นปานกลางถึงรุ่นสูงจะสามารถตั้งค่าความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเข้าไปที่ Menu > Contrast โดยปกติค่าความเปรียบต่างจะถูกตั้งไว้ที่ Normal หรือปานกลาง ผู้ใช้สามารถลดหรือเพิ่มความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเลือกไปที่ High หรือ Low
การปรับตั้งความเปรียบต่างจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการถ่ายภาพนอกสถานที่ซึ่งไม่สามารถควบคุมความแตกต่างของแสงได้ ผู้ใช้สามารถตั้งความเปรียบต่างของภาพที่กล้องเพื่อชดเชยความเปรียบต่างที่มากหรือน้อยเกินไปของสภาพแสงได้ เช่น ถ่ายภาพในสภาพแสงครึ้มฟ้าครึ้มฝน ความแตกต่างของแสงในส่วนมืดและสว่างจะน้อยมาก ภาพที่ได้จะมีความเปรียบต่างต่ำ ส่วนขาวไม่ขาว และส่วนดำไม่ดำ ภาพดูเทาไปหมดทั้งภาพ เราสามารถแก้ไขโดยการเพิ่มความเปรียบต่างของภาพไปที่ High ความเปรียบต่างของภาพจะสูงขึ้น ภาพจะมีสีสัดดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากไปถ่ายภาพที่มีความแตกต่างของภาพจะสูงมากๆ เช่น การถ่ายภาพในอาคารย้อนออกไปภาพนอก ความแตกต่างของแสงส่วนมืดและสว่างจะสูงมาก ทำให้ส่วนสว่างและส่วนมืดไม่มีรายละเอียด สามารถแก้ไขได้โดยการปรับความเปรียบต่างที่ตัวกล้องไปที่ Low กล้องจะลดความเปรียบต่างของภาพลด และได้รายละเอียดในส่วนมืดและสว่างมากยิ่งขึ้น
การตั้งความเปรียบต่างให้เหมาะสมกับภาพแต่ละลักษณะเป็นประโยชน์มากในการใช้งานกล้องดิจิตอล และเป็นสิ่งที่ทำให้กล้องดิจิตอลได้เปรียบกล้องใช้ฟิล์ม เพราะฟิล์มไม่สามารถเปลี่ยนความเปรียบต่างไปมาในแต่ละภาพได้ ต้องไปเปลี่ยนในขั้นตอนการอัดขยายภาพโดยการเลือกความเปรียบต่างของกระดาษ
ฉบับหน้ามาต่อกันที่ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงครับ
หมายเหตุ บทความนี้คัดลอกมาจากนิตยสาร FOTOINFO MAGAZINE No.3: มิถุนายน 2548
กล้องดิจิตอลต้องอาศัยเลนส์เช่นเดียวกับกล้องใช้ฟิล์ม เลนส์ของกล้องดิจิตอลทำหน้าที่รวมแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุ ทำให้เกิดภาพบน Image Sensor เช่นเดียวกับเลนส์ตาทำหน้าที่รวมแสงให้เกิดภาพ เลนส์ทำหน้าที่ควบคุมมุมการรับภาพ หรือมุมการมองเห็นของอิมเมจเซ็นเซอร์ว่าจะเก็บภาพได้กว้างหรือแคบเพียงไร เลนส์มีผลต่อขนาดวัตถุที่ปรากฏในภาพเลนส์มุมกว้างให้ภาพมุมกว้าง วัตถุที่ปรากฏในภาพมีขนาดเล็ก ส่วนเลนส์ถ่ายไกลให้ภาพที่ปรากฏเป็นมุมแคบๆ เจาะส่วน และขนาดภาพที่ปรากฏจะใหญ่ เลนส์มีผลต่อสัดส่วนของภาพ และเลนส์ทำหน้าควบคุมปริมาณแสง คุณภาพของเลนส์มีผลอย่างมากต่อสีสัน ความคมชัด และรายละเอียดบน Image Sensor เลนส์คุณภาพสูงหรือเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะจะให้ภาพที่ดีกว่าเลนส์ทั่วไปมากๆ เมื่อใช้กับกล้องดิจิตอล
เลนส์ของกล้องดิจิตอลและกล้องถ่ายภาพทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นเลนส์ประเภทต่างๆ โดยอาศัยทางยาวโฟกัสของเลนส์ ซึ่งทางยาวโฟกัสคือ ระยะทางระหว่างกึ่งกลางของเลนส์ (ในกรณีที่เป็นเลนส์ชิ้นเดียว) จนถึงอิมเมจเซ็นเซอร์ เลนส์ทางยาวโฟกัสสั้นที่มุมการรับภาพกว้าง เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงมีมุมการรับภาพแคบ เลนส์ตัวเดียวกันเมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ต่างขนาดกัน มุมการรับภาพก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย เช่น เลนส์ 25 มม. เมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ขนาด 1/2 นิ้วจะเป็นเลนส์เทเลโฟโต้ แต่เมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ขนาด 1.5 นิ้ว กลับกลายเป็นเลนส์มุมกว้าง
1. เลนส์ตาปลา (Fish-eye) คือ เลนส์ที่มีมุมการรับภาพกว้าง 180 องศา ทุกอย่างที่อยู่หน้าเลนส์จะปรากฏลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์มี 2 แบบคือ เลนส์ตาปลาแบบวงกลม จะเป็นภาพวงกลมขอบดำ และเลนส์ตาปลาแบบเต็มภาพ (Full-Frame) ขอบภาพที่เป็นเส้นตรงจะบิดโค้งมากๆ เหมาะกับภาพที่ต้องการมุมการรับภาพกว้างมากๆ หรือภาพที่ต้องการความบิดเบือนของเส้นตรง
2. เลนส์มุมกว้าง (Wide-Angle Lens) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่าเส้นทแยงมุมของอิมเมจเช็นเซอร์ มีตั้งแต่ให้มุมภาพกว้างมากๆ (Super Wide) และเลนส์มุมกว้างปกติ (Wide) เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการมุมภาพกว้างๆ หรือถ่ายภาพกว้างในพื้นที่จำกัด ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ภาพหมู่ หรือภาพถ่ายในระยะใกล้ๆ เพื่อให้เกิดความผิดเพี้ยนของสัดส่วน
3. เลนส์เทเลโฟโต้ (Telephoto) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงกว่าเส้นทแยงมุมของอิมเมจเซ็นเซอร์ มุมการรับภาพจะแคบ เหมาะกับการถ่ายภาพระยะไกลให้ดูใกล้ ภาพในลักษณะแอบถ่ายจากระยะไกล ภาพสัตว์ป่า ภาพบุคคล ฯลฯ เลนส์ถ่ายไกลยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Telephoto และ Super Telephoto
4. เลนส์มาตรฐาน (Normal Lens) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทแยงมุมของอิมเมจเช็นเซอร์ ใช้ในการถ่ายภาพทั่วๆ ไป
5. เลนส์ซูม (Zoom Lens) คือเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ในตัวเดียวกัน สามารถให้ภาพกว้างและแคบได้ เป็นเลนส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและยังให้คุณภาพที่ดียอมรับได้ สามารถแบ่งออกเป็นหมวดย่อยๆ เช่น เลนส์ซูมมุมกว้าง เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ เลนส์ซูมมุมกว้าง-เทเลโฟโต้ ส่วนเลนส์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้เรียกว่าเลนส์เดี่ยว (Fixed Focal Length Lens) จะให้คุณภาพที่ดีกว่าเลนส์ซูม แต่ไม่สะดวกในการใช้งานเท่าไรนัก เหมาะกับการถ่ายภาพคุณภาพสูงมากๆ เป็นหลัก
นอกจากการแบ่งตามความยาวโฟกัสของเลนส์แล้ว ยังแบ่งเลนส์ออกเป็นหมวดย่อยๆ ตามลักษณะพิเศษของเลนส์ได้ เช่น
1. เลนส์มาโคร (Macro Lens) คือ เลนส์ที่ออกแบบให้ใช้ถ่ายภาพในระยะใกล้กว่าปกติ ซึ่งเลนส์ทั่วไปจะไม่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ ได้ เช่น เลนส์ 105 มม.มาโคร 200 มม.มาโคร
2. เลนส์ Soft เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับการถ่ายภาพบุคคล สามารถทำให้ภาพนุ่มๆ ได้และปรับระดับความนุ่มนวลได้อีกด้วย เช่น 135 มม.F/2 DC
3. เลนส์กระจก (Mirror Lens) เป็นเลนส์ที่ใช้กระจกสะท้อนภาพแทนชิ้นเลนส์ใส เพื่อลดขนาดเลนส์และทำให้เลนส์มีต้นทุนถูกลง เช่น 500 มม. f/8 Mirror แต่คุณภาพของภาพถ่ายที่ได้จะไม่ดีเท่าไรนัก
4. เลนส์ควบคุมสัดส่วนของภาพ (Perspective Control Lens) เป็นเลนส์ที่สามารถแก้การบิดเบือนของภาพ ใช้ในการถ่ายภาพงานสถาปัตยกรรม ภาพทิวทัศน์ที่ต้องการความสมจริง หรือใช้ในการเปลี่ยนแปลงระนาบความคมชัดเพื่อให้ได้คามชัดลึกสูงสุด เช่น 28 มม.PC
5. เลนส์ป้องกันความสั่นไหวของภาพ (Vibration Control Lens) เป็นเลนส์ที่มีกลไกพิเศษช่วยป้องกันการสั่นไหวของภาพได้ เหมาะกับการถ่ายภาพในที่สภาพแสงน้อยๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำ เพื่อป้องกันการสั่นไหวของมือ แต่ไม่สามารถชดเชยการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
6. เลนส์แก้ความคลาดสี (Aporhromatic Correction Lens) มักใช้ชื่อทางการค้าว่า ED, L, APO คือ เลนส์ที่ใช้ชิ้นเลนส์พิเศษที่มีการกระจายแสงต่ำ ดัชนีหักเหสูง (High Reflexive Index Low Dispersion Glass) เพื่อลดความคลาดสีบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพมีความคมชัดสีสันสมจริงมากยิ่งขึ้น
7. เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เป็นเลนส์ที่ใช้ชิ้นเลนส์พิเศษที่ผิวหน้าไม่เป็นทรงกลม เรียกว่าชิ้นเลนส์ Aspherical Lens (เลนส์ปกติผิวหน้าจะเป็นทรงโค้งวงกลม) เพื่อแก้แสงบริเวณของภาพให้ตกในระนาบเดียวกันทำให้ภาพกลางภาพและขอบภาพมีความคมชัดใกล้เคียงกัน ซึ่งมักใช้ในเลนส์มุมกว้างและเลนส์ซูมคุณภาพสูง
เลนส์สำหรับกล้องดิจิตอลแบบคอมแพคจะเป็นเลนส์ซูมมุมกว้างเทเลโฟโต้ เพื่อให้ใช้งานได้หลายหลาย ส่วนเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอลแบบ SLR จะเป็นเลนส์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ จะเป็นเลนส์เดี่ยวหรือซูมขึ้นกับผู้ซื้อ การเลือกควรดูว่าจะนำไปใช้งานอย่างไร เพราะเลนส์แต่ละเลนส์ประเภทมีจุดประสงค์และจุดเด่นในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปควรมีเลนส์ตั้งแต่มุมกว้างปานกลาง (0.25เท่าของเส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์) ไปจนถึงเทเลโฟโต้ปานกลาง (4เท่าของเส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์) ซึ่งทางยาวโฟกัสจะเป็นเท่าไรนั้นขึ้นกับว่าขนาดอิมเมจเซ็นเซอร์มีขนาดเท่าไร ไม่สามารถระบุได้ ต้องดูกล้องเป็นรุ่นๆ ไป
กล้องดิจิตอล มักจะระบุทางยาวโฟกัสของเลนส์ไว้ 2 แบบ คือ ทางยาวโฟกัสที่แท้จริง กับทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากล้อง 35มม. ที่ใช้ฟิล์มขนาด 135 ภาพ ขนาด 24x36 มิลลิเมตร เช่น เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 5-40 มม. จะเทียบเท่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 25-200 มม. เป็นต้น
ทางยาวโฟกัสของเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR มักบอกทางยาวโฟกัสเป็นค่าทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับกล้องฟิล์ม 135 และระบุตัวคูณทางยาวโฟกัส เช่น 1.7 เท่า เพื่อให้ทราบว่าเมื่อนำเลนส์ไปใช้กับกล้องดิจิตอลจะมีขนาดทางยาวโฟกัสเท่าไร เช่น เลนส์ 50 มม. เมื่อนำไปใช้กับกล้องดิจิตอล 1.5 เท่า จะกลายเป็นเลนส์ขนาด 75 มม. เป็นต้น
ระบบต่างๆ ของกล้องดิจิตอล
1. การกำหนดขนาดภาพ (Image Size) ขนาดภาพของกล้องดิจิตอล คือ จำนวน Pixels ในภาพที่บันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
1. จำนวน Pixels บน Image Sensor หมายถึงจำนวน Pixels ทั้งหมดที่อยู่บน Image Sensors
2. จำนวน Pixels ที่ถูกใช้งานในการบันทึกภาพ ซึ่งจะเรียกว่า “Effective Pixels” จำนวน Effective
Pixels จะน้อยกว่าจำนวน Pixels ทั้งหมดบน Image Sensor บางครั้งเราเรียกว่า “Optical Resolution”
3. จำนวน Pixels ที่บันทึกลงบนภาพ มักเรียกว่า “Recording Pixels” หรือ “Output Pixels” เป็นจำนวน Pixels จริงที่จะถูกบันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูลโดยจะมีจำนวนใกล้เคียงกับ Effective Pixels แต่กล้องบางตัวอาจจะมี Recording Pixels มากกว่า Effective Pixels ถึง 1.5 หรือ 2 เท่า ซึ่งจำนวน Pixels ที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะได้จากการจำลองข้อมูลจาก Effective Pixels ขึ้นมาเพื่อให้ภาพมีจำนวน Pixels มากขึ้น แต่คุณภาพโดยรวมจะไม่เพิ่มขึ้น
การเลือกซื้อกล้องดิจิตอลหรือการเลือกขนาดความละเอียดของภาพมาใช้งาน จะพิจารณาจากจำนวน Effective Pixels โดยกล้องที่มีจำนวน Effective Pixels มากมีแนวโน้มว่าจะมีคุณภาพดีกว่ากล้องที่มีจำนวน Effective Pixels น้อย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของ Image Sersor ขนาด Photo detector ความลึกสี ระบบประมวลผล เลนส์ และส่วนประกอบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะเลือกจำนวน Pixels ในการถ่ายภาพได้หลายค่า เช่น กล้องขนาด 5 ล้านพิกเซล อาจจะเลือกถ่ายภาพได้ที่ 5 ล้านพิกเซล, 3 ล้านพิกเซล, 1 ล้านพิกเซล และ 7 แสนพิกเซล โดยทั่วไปเราสามารถเข้าไปเลือกความละเอียดของภาพได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้วเข้าไปที่ Image Size (หรือ Quality) จะปรากฏเมนูในการตั้งความละเอียดของภาพขึ้น
โดยทั่วไปภาพที่มีจำนวน Pixels มาก จะสามารถนำไปขยายภาพขนาดใหญ่ได้ดีกว่าภาพที่มีจำนวน Pixels น้อย โดยให้ความละเอียดและความคมชัดที่ดีกว่า ภาพแตกเป็นสี่เหลี่ยมได้ยากกว่า แต่จำนวน Pixels ที่มากกว่าต้องใช้เนื้อที่ของหน่วยความจำในการเก็บข้อมูลมากกว่า สิ้นเปลืองพลังงานในการประมวลผลมากกว่า กล้องทำงานช้ากว่า ทั้งการเก็บข้อมูลและการเรียกดูภาพบนการ์ดเก็บข้อมูล การตั้งความละเอียดไว้สูงสุดอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการบันทึกภาพด้วยกล้องดิจิตอล เรามีวิธีการในการเลือกความละเอียดของภาพโดยพิจารณาจากการนำภาพไปใช้งาน
1. ถ้าต้องการถ่ายภาพเพื่อส่ง E-Mail หรือใช้ทำ Presentation ในคอมพิวเตอร์ ความละเอียด 1 ล้านพิกเซลถือว่าเพียงพอ
2. ต้องการไปใช้งานพิมพ์ งานอัดขยายภาพด้วยเครื่อง Printer คุณภาพสูง (Photo Quality) ควรดูว่าจะขยายภาพขนาดเท่าไร จากนั้นเอาขนาดภาพคูณด้วย 300 จะได้ขนาดความละเอียดภาพที่ควรจะตั้ง เช่น ขยายภาพขนาด 4x6 ควรตั้งที่ความละเอียด 4x300, 6x300= 1200x1800 Pixels = 2.16 ล้านพิกเซล
ถ้าอัตราขยายภาพสูงมากๆ แต่กล้องไม่สามารถตั้งความละเอียดตามที่ต้องการได้ ก็ควรตั้งความละเอียดไว้ที่สูงสุดเท่าที่กล้องจะสามารถทำได้ ซึ่งภาพที่ได้อาจจะแตกและมีคุณภาพไม่ดีนัก (เมื่อมองในระยะใกล้มากๆ)
3. ใช้งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบ Inkjet ให้ใช้ขนาดภาพที่ต้องการใช้งานคูณด้วย 150 แต่ถ้าเป็นเครื่อง Inkjet ที่มีความละเอียดสูงมากๆ ต้องคูณด้วย 300
กล้องดิจิตอลในระดับ Consumer ในปัจจุบันนั้นมีความละเอียดประมาณ 3 ล้านพิกเซล สามารถอัดขยายภาพขนาด 4x6 นิ้ว (4R) จนถึง 8x10 นิ้ว (8R) ได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนกล้องในระดับ Prosumer มีความละเอียดประมาณ 4-5 ล้านพิกเซล สามารถขยายภาพขนาด A4 (8.25x11.5 นิ้ว) ได้ และกล้องดิจิตอลระดับ Pro ความละเอียด 6 ล้านพิกเซลสามารถขยายภาพขนาด A4 ถึง 10x15 นิ้วได้สบายๆ โดยเฉพาะรูปที่ถ่ายในระยะใกล้ เช่น รูปสินค้า รูปบุคคลครึ่งตัว แต่ถ้าเป็นรูประยะไกลซึ่งต้องการความละเอียดสูงมากๆ จะยังทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก
2. การกำหนดคุณภาพของภาพ (Image Quality)
กล้องดิจิตอลโดยทั่วไปจะเก็บภาพในรูปแบบ Photoshop, TIFF File, JPEG File หรือ RAW File คุณภาพของภาพที่ได้จากไฟล์แบบต่างๆ จะมีคุณภาพแตกต่างกันออกไป เรียกคุณภาพที่เกิดจากรูปแบบการเก็บข้อมูลนี้ว่า Image Quality สามารถเข้าไปตั้งค่า Image Quality ได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้วเข้าไปที่ Image Quality ซึ่ง Image Quality มักจะแบ่งออกเป็นระดับคือ
1. High จะเก็บภาพแบบ TIFF File 8 bit/color ซึ่งจะไม่มีการบีบอัดข้อมูล ทำให้ได้คุณภาพสูงสุดจากกล้องตัวนั้น แต่จะใช้เนื้อที่การเก็บภาพมาก ไฟล์มีขนาดใหญ่ ประมวลผลช้า เปลืองพลังงาน และทำให้ใช้ระบบการถ่ายภาพบางอย่างไม่ได้ หรือได้น้อยลง เช่น ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง เป็นต้น เหมาะสำหรับการเก็บภาพที่ต้องการคุณภาพสูงสุด
2. Fine, Normal, Basic จะเก็บภาพในรูปแบบของ JPEG File 8 bit/color ซึ่งมีการบีบอัดข้อมูล ทำให้เกิดการสูญเสียคุณภาพของภาพไป โดยที่ Fine จะบีบอัดข้อมูลน้อยที่สุดไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า และ Basic บีบอัดข้อมูลมากที่สุด และไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด โดยทั่วไปหากใช้ภาพเพื่องานอัดขยาย แนะนำให้ตั้ง Fine แต่ถ้าต้องการเก็บภาพลงซีดี หรือใช้กับคอมพิวเตอร์ แนะนำให้ใช้ Normal และถ้าต้องการใช้ส่ง E-Mail แนะนำให้ใช้ Basic ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของการ์ดเก็บข้อมูลและจำนวนภาพที่ต้องการบันทึก
3. RAW เป็นไฟล์เฉพาะซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะของกล้องในการเปิด ไม่สามารถใช้โปรแกรมทั่วไปในการเปิดได้ RAW File เป็นข้อมูลดิจิตอลที่มาจาก Image Sensor ไม่ผ่านการปรับแต่งใดๆ จาก Processor ของตัวกล้อง ทำให้ได้คุณภาพที่แท้จริงจากกล้องตัวนั้นๆ โดยเฉพาะการไล่ระดับโทนสี หรือ Bit Depth กล้องดิจิตอลในปัจจุบันจะมีความลึกสีประมาณ12 bit/color แต่เมื่อเก็บภาพเป็น TIFF File จะถูกบีบลงเหลือ 8 bit/color เท่านั้น การเก็บเป็น RAW File จึงทำให้จำนวนเฉดสีที่มากกว่า เมื่อเปิดด้วย Software เฉพาะ จะสามารถปรับแต่งสี ความคมชัดและคุณภาพอื่นๆ ได้ จากนั้นถึงจะเปลี่ยน RAW File ไปเป็น TIFF File และ JPEG File เพื่อการนำไปใช้งานอื่นๆ ต่อไป
มืออาชีพจำนวนมากที่นิยมถ่ายภาพด้วย RAW File และเก็บภาพต้นฉบับลง CD แบบ RAW File เนื่องจากไม่สูญเสียคุณภาพ โดยเฉพาะความลึกสี (Bit Depth) สามารถใช้ Software ในการปรับคุณภาพภายหลังได้ ปรับภาพได้หลากหลายรูปแบบ และแก้ไขใหม่ได้ถ้าไม่พอใจ และถ้าภายหลังมี software รุ่นใหม่ออกมา ก็จะทำให้ภาพมีคุณภาพดีขึ้นด้วย ในขณะที่การเก็บแบบ TIFF File หรือ JPEG ไม่สามารถปรับเปลี่ยนคุณภาพของภาพในภายหลังได้ เมื่อจะใช้งาน จึงค่อยแปลง RAW File เป็น TIFF หรือ JPEG
3. การตั้งความไวแสง
กล้องดิจิตอลไม่มีความไวแสงที่แท้จริง ความไวแสงที่มีให้ปรับตั้งนั้นเป็นความไวแสงเทียบเคียง (ISO Equivalents) เมื่อเทียบกับฟิล์มถ่ายภาพ ความไวแสงของกล้องดิจิตอลจะสามารถปรับตั้งได้หลายค่า มีตั้งแต่ ISO100 ไปจนถึง ISO3200 แล้วแต่รุ่นกล้องความไวแสงสูงจะช่วยให้สามารถใช้ขนาดช่องรับแสงแคบและความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ได้ ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้สะดวก การตั้งความไวแสงของกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะอยู่ที่ MENU > ISO
แต่จะเกิดปัญหาภาพมีสัญญาณรบกวนสูง เนื่องมาจากการเพิ่มความไวแสง กล้องจะต้องเพิ่มสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปในระบบ ทำให้สัญญาณรบกวนสูงตามไปด้วย ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลปัจจุบันพยายามแก้ปัญหาสัญญาณรบกวน โดยการออกแบบวงจรหรือใช้ระบบประมวลผลเพื่อลดสัญญาณรบกวนลงให้เหลือน้อยที่สุด ผลจากสัญญาณรบกวนทำให้ภาพขาดความคมชัด สีไม่อิ่มตัว คล้ายๆ กับเกรนแตกในฟิล์มความไวสูง โดยจะเห็นได้ชัดบริเวณส่วนสีทึบหรือส่วนมืดของภาพ
ควรใช้ความไวแสงต่ำที่สุดเท่าที่ยังสามารถถ่ายภาพได้ในขณะนั้นจะได้ภาพที่ดีสุด
4. การตั้งระดับความคมชัด
กล้องดิจิตอลบางรุ่นสามารถตั้งความคมชัดของภาพได้หลายระดับ โดยการเข้าไปที่ Menu > Sharpness สามารถเลือกความคมชัดได้ 3 ระดับคือ Normal คมชัดปานกลาง, Soft ไม่ปรับความคมชัด และ Hard (Sharp) ปรับความคมชัดสูงสุด โดยปกติจะปรับความคมชัดเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นการถ่ายภาพบุคคลที่ต้องการความนุ่นนวล จะปรับเอาไว้ที่ Soft แล้วถ้าเป็นภาพสินค้า ภาพวิวหรือภาพในระยะไกล จะปรับความคมชัดไว้ที่ Hard ความคมชัดของกล้องดิจิตอลเกิดจากการใช้ Software เมื่อสั่งเพิ่มความคมชัดมากๆ จะเกิดขอบคล้ายๆ กับการใช้คำสั่ง Sharpen ใน Filter ของ Photoshop
5. ความอิ่มตัวของสี (Color Saturation)
ในกล้องดิจิตอลระดับกลางบางรุ่น และกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพ สามารถตั้งความอิ่มตัวของสีได้ โดยการเข้าไปที่ Menu > Color ระดับความอิ่มตัวของสีจะมีให้เลือก 4 ระดับคือ High ความอิ่มตัวของสีสูงสุด, Normal ความอิ่มตัวของสีปานกลาง, Original ไม่มีการปรับความอิ่มตัวของสี และ B&W ภาพขาวดำ โดยปกติจะตั้งความอิ่มตัวของสีเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นกับภาพที่ต้องการความจัดจ้านของสีมากๆ จะตั้งไว้ที่ High ภาพบุคคลมักตั้งเอาไว้ที่ Original เพื่อไม่ให้สีผิวจัดจ้านเกินไป และถ้าต้องการภาพขาวดำตั้งที่ B&W
การปรับความอิ่มตัวของสีมากๆ จะทำการไล่ระดับโทนสีของภาพลดลงเล็กน้อย สีผิวจะเปลี่ยนไป และภาพดูกระด้างขึ้นในบางภาพเหมาะกับการถ่ายภาพวิว หรือภาพสินค้าที่ต้องการสีสดๆ
6. การตั้งระดับความเปรียบต่าง (Contrast, Tone)
กล้องดิจิตอลในรุ่นปานกลางถึงรุ่นสูงจะสามารถตั้งค่าความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเข้าไปที่ Menu > Contrast โดยปกติค่าความเปรียบต่างจะถูกตั้งไว้ที่ Normal หรือปานกลาง ผู้ใช้สามารถลดหรือเพิ่มความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเลือกไปที่ High หรือ Low
การปรับตั้งความเปรียบต่างจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการถ่ายภาพนอกสถานที่ซึ่งไม่สามารถควบคุมความแตกต่างของแสงได้ ผู้ใช้สามารถตั้งความเปรียบต่างของภาพที่กล้องเพื่อชดเชยความเปรียบต่างที่มากหรือน้อยเกินไปของสภาพแสงได้ เช่น ถ่ายภาพในสภาพแสงครึ้มฟ้าครึ้มฝน ความแตกต่างของแสงในส่วนมืดและสว่างจะน้อยมาก ภาพที่ได้จะมีความเปรียบต่างต่ำ ส่วนขาวไม่ขาว และส่วนดำไม่ดำ ภาพดูเทาไปหมดทั้งภาพ เราสามารถแก้ไขโดยการเพิ่มความเปรียบต่างของภาพไปที่ High ความเปรียบต่างของภาพจะสูงขึ้น ภาพจะมีสีสัดดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากไปถ่ายภาพที่มีความแตกต่างของภาพจะสูงมากๆ เช่น การถ่ายภาพในอาคารย้อนออกไปภาพนอก ความแตกต่างของแสงส่วนมืดและสว่างจะสูงมาก ทำให้ส่วนสว่างและส่วนมืดไม่มีรายละเอียด สามารถแก้ไขได้โดยการปรับความเปรียบต่างที่ตัวกล้องไปที่ Low กล้องจะลดความเปรียบต่างของภาพลด และได้รายละเอียดในส่วนมืดและสว่างมากยิ่งขึ้น
การตั้งความเปรียบต่างให้เหมาะสมกับภาพแต่ละลักษณะเป็นประโยชน์มากในการใช้งานกล้องดิจิตอล และเป็นสิ่งที่ทำให้กล้องดิจิตอลได้เปรียบกล้องใช้ฟิล์ม เพราะฟิล์มไม่สามารถเปลี่ยนความเปรียบต่างไปมาในแต่ละภาพได้ ต้องไปเปลี่ยนในขั้นตอนการอัดขยายภาพโดยการเลือกความเปรียบต่างของกระดาษ
ฉบับหน้ามาต่อกันที่ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงครับ
หมายเหตุ บทความนี้คัดลอกมาจากนิตยสาร FOTOINFO MAGAZINE No.3: มิถุนายน 2548
เทคนิคการถ่ายภาพระยะชัดลึก Dept of Field
ระยะชัดลึก Dept of Field
การเริ่มต้นถ่ายภาพจริงจังสำหรับมือใหม่ นอกจากการฝึกปรับความชัดแม่นยำ และถูกตำแหน่งแล้ว ยังต้องเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการควบคุมระยะชัดลึกของภาพ ซึ่งบ่อยครั้งที่ช่างภาพมืออาชีพที่มีประสบการณ์ยังตอ้งตกม้าตายกับเรื่องนี้ สาเหตุมา
จากการใช้กล้องถ่ายภาพที่มีระบบอัติโนมัติมากมาย ทำให้ละเลยที่จะเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพที่สำคัญ เช่นการควบคุมระยะชัดลึก ส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความสมบูรณ์ไปอย่างน่าเสียดาย
ระยะชัดลึก( Depth of field) คืออะไร
ระยะชัดลึก บางครั้งก็เรียกว่าความชัดลึก คือควมชัดด้านหน้าและด้านหลังของตำแหน่งที่เราปรับความชัด เช่นหากถ่ายภาพบุคคลเต็มหน้าและปรับความชัดที่ดวงตา ในทางทฤษฎีภาพจะชัดเฉพาะที่ระนาบของดวงตาเท่านั้น (ไม่สามารถปรับความชัดหลายๆระนาบได้ เช่น ไม่สามารถปรับความชัดที่ 3,4 หรือ 5 เมตรในภาพเดียวกันได้ตอ้งปรับความชัดที่ระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น) ลำแสงจากวัตถุที่เราปรับโฟกัสให้ชัดจะไปตัดกับจุดระนาบฟิล์มพอดี แต่ความชัดจะบางเหมือนแผ่นกระดาษและอยู่ระนาบเดียวกับระนาบเซ็นเซอร์ สำหรับกลอ้งถ่ายภาพปกติ(ยกเว้นกลอ้งที่สามารถปรับมุมของระนาบเลนส์และระนาบฟิล์มได้ เช่นกลอ้งวิว หรือกลอ้งบางประเภทเท่านั้น ที่สามารถบิดระนาบความชัดไปมาได้) ทำให้ส่วนที่เป็นแก้ม ใบหู ฉากหลังและฉากหน้าเบลอไป เพราะลำแสงของภาพจากส่วนที่ไม่ใช่ความชัดนี้จะไม่ตัดกันเป็นจุด แต่จะตัดกันเป็นวงกลมขนาดใหญ่แทน ทำให้ภาพนอกระยะตำแหน่งปรับความชัดเบลอไป เราเรียกจุดและวงกลมที่เกิดจากลำแสงไปตัดกันที่ระนาบฟิล์มนี้ว่า Circle of confusion
ในทางปฎิบัติเราสามารถควบคุมความชัดของภาพให้เพิ่มขึ้นจากระนาบความชัดได้ โดยการลดขนาดลำแสงที่ผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มมีขนาดเล็กลง นั่นคือการลดขนาดรูรับแสงของเลนส์ให้เล็กลง ยิ่งหรี่ขนาดรูรับแสงเพิ่มขึ้นเท่าไร จะทำให้วงกลมนี้เล็กลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฟิล์มและสายตาไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า ลำแสงตัดกันเป็นจุดหรือวงกลมทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมาได้ นั่นคือ การเกิดระยะชัดทางด้านหน้าและด้านหลังระนาบที่ถูกปรับให้ชัด หรือเป็นการเกิด Depth of field นั่นเอง
ขนาดของ Circle of confusion ใหญ่ที่สุดซึ่งกลายเป็นจุดอันจะทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมา เราเรียกว่า Permissible circle of confusion ซึ่งขนาดของวงกลมดังกล่าวนี้ จะมีกรกำหนดไม่เท่ากันในผู้ผลิตเลนส์แต่ละราย เพราะขนาดของ circle of confusion ขึ้นกับระยะที่มองภาพอัตราขยายภาพ ความแตกต่างของสีหรือแสงระหว่างฉากหน้ากับฉากหลัง
แสงสว่างที่ส่องมายังภาพ รวมไปถึงสายตาของผู้มองภาพด้วย เช่น ถ้าเรามองภาพจากระยะไกล เราจะแยกภาพชัดกับไม่ชัดยากกว่าการมองภาพใกล้ๆ และการขยายภาพขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มากๆ ก็จะแสดงความชัดกับไม่ชัดของภาพออกมาได้มากกว่า แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ดูภาพส่วนใหญ่จะมองภาพด้วยระยะห่างประมาณ เส้นทแยงมุมของภาพอันเป้นเรื่องของมุมรับภาพของสายตา หากภาพมีขนาดเล็กก็จะดูภาพในระยะใกล้ ภาพขนาดใหญ่ก็จะดูภาพจากระยะไกล ดังนั้น เราจึงถือว่าอัตราขยายภาพและระยะการมองไม่มีผลต่อขนาดของ Circle of confusion ในทางปฎิบัติ
โดยมาตรฐานแล้ว จะกำหนดระยะการมองภาพไว้ที่ 10 นิ้ว ด้วยปัจจัยหลายประการนี้เอง ทำให้เลนส์ต่างยี่ห้อที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน ขนาดรูรับแสงเท่ากัน แต่มีตัวเลขความชัดลึกที่กระบอกเลนส์ไม่เท่ากัน แต่ภาพที่ถ่ายออกมานั้นจะมีความชัดลึกเท่ากัน และที่น่าแปลกใจคือ ไม่ได้มีข้อกำหนดร่วมกับเลนส์ของผู้ผลิตแต่ละรายว่าควรจะใช้ ขนาดของ Circle of confusion นี้เท่าไร ตามมาตรฐานทั่วไปจะกำหนดที่ขนาด 1/1000 นิ้ว หรือ 0.003937 มม. แต่ในการผลิตจริง ของผู้ผลิตเลนส์จะมีค่าตั้งแต่ 1/70 ถึง 1/200 นิ้ว
ชัดลึกและชัดตื้น
ระยะชัดทางด้านหน้าของตำแหน่งที่ปรับความชัด เราจะเรียกว่า ชัดตื้น ส่วนระยะชัดด้านหลังของระนาบความชัด เราเรียกว่าชัดลึก ระยะชัดจากด้านหลังสุดเราเรียกว่า ช่วงความชัด เช่นเลนส์ขนาด 50 มม. ปรับความชัดที่ระยะ 3 เมตร ปรับขนาดรูรับแสง f/16 ระยะชัดด้านหน้าอยู่ที่ 2 เมตร ระยะชัดด้านหลังอยู่ที่ 10 เมตร ถึง 10 เมตร หรือมีช่วงระยะชัด 8 เมตร เป็นต้น
กลอ้งถ่ายภาพ 35 มม. DLR หรือกลอ้งดิจิตอล SLR ในปัจจุบันเป็นระบบ Auto Diaphragm ซึ่งเลนส์จะเปิดรูรับแสงกว้างสุดเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับความชัด (ปรับโฟกัส) และช่องมองภาพได้ง่ายขึ้น ดังนั้นภาพที่ปรากฏในช่องมองภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยที่สุดของเลนส์ที่กำลัง ใช้งานอยู่ เมื่อชัตเตอร์บันทึกภาพ ระบบควบคุมของกลอ้งจะทำให้รูรับแสงหรี่ลงมาตามขนาดรูรับแสงจริงที่เราตั้งเอาไว้จากนั้นชัตเตอร์จึงทำงาน หลังจากที่ชัตเตอร์ปิด รูรับแสงก็จะเปิดกว้างสุดเหมือนเดิม หากถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ เช่น f/11 คุณก็จะได้ภาพถ่ายที่มีระยะชัดลึกมากกว่าที่มองเห็นในช่องมองภาพ
ชัดลึกและชัดตื้นจะมีความหมายในอีกกรณีหนึ่ง คือการชัดและเบลอของฉากหน้าและฉากหลัง ถ้าฉากหน้าและฉากหลังเบลอมากเราเรียกว่า ชัดตื้น หากชัดมากเราจะเรียกว่าชัดตื้น แต่เนื่องจากความชัดลึกชัดตื้นในกรณีนี้เป็นความรู้สึกของผู้ดูภาพซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป
การควบคุมความชัดลึก
คุณสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ด้วยตัวเอง ความชัดลึกของภาพกำหนดโดยขนาดของ Circle of confusion ซึ่งถ้าเราให้เลนส์แต่ละยี่ห้อมีขนาด Circle of confusion เท่ากันแล้ว เราจะรู้ได้ว่าเลนส์ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะแพงหรือถูกเพียงใด หากมีทางยาวโฟกัสเท่ากันและขนาดรูรับแสงเท่ากัน จะมีระยะชัดลึกเท่ากันด้วยอัตราการขยายภาพไม่มีผลต่อความชัดลึกของภาพดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้และเราสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ 3 วิธี
การควบคุมขนาดรูรับแสง (F-Number)
การลดขนาดรูรับแสงลง จะทำให้ระยะชัดลึกด้านหน้าและด้านหลังจุดปรับความชัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าความชัดที่เห็นในช่องมองภาพนั้นเป็นความชัดที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุด หากต้องการตรวจสอบว่าค่ารูรับแสงที่ใช้จะทำให้ระยะชัดลึกมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้โดยการกดปุ่มเช็กชัดลึกที่ตัวกลอ้ง (ถ้ามี)
ระยะปรับความชัด ( Focusing distance)
ระยะชัดลึกจะแปรผันตามระยะชัด การปรับความชัดใกล้ขึ้นจะทำให้ภาพมีความชัดลึกลดลง พูดง่ายๆคือ ยุ่งถ่ายภาพใกล้มากเท่าใด ภาพก็จะมีระยะชัดน้อยลงตามลำดับ
ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal Length)
เมื่อถ่ายภาพที่ระยะห่างและขนาดรูรับแสงเดียวกัน เลนส์เทเลโฟโต้จะให้ภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยกว่าเลนส์มุมกว้าง ยิ่งทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเท่าไร ช่วงระยะชัดลึกก็จะน้อยลงตามลำดับ
บทสรุป
เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับระยะชัดลึกแล้ว คุณสามารถนำความรู้นี้ ไปใช้ในการควบคุมระยะชัดลึกของภาพได้ และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จะช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องของ การควบคุมระยะชัดลึก เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่นเมื่อตอ้งการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัดทั้งภาพ คุณตอ้งใช้เลนส์มุมกว้างที่มีคุณสมบัติชัดลึกมากกว่าเลนส์เทเล แล้วปรับรูรับแสงแคบเพื่อเพิ่มระยะชัด แต่ถ้าตอ้งการถ่ายภาพให้ชัดตื้น เช่นถ่ายภาพบุคคลให้ฉากหลังเบลอ ตอ้งเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ เช่น 100 หรือ 200 mm. ถ่ายภาพโดยเปิดรูรับแสงกว้างสุดและเข้าไปถ่ายภาพใกล้ๆ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ภาพที่ชัดตื้นหรือมีฉากหลังเบลออย่างง่ายดาย
ขอบคุณบทความจากนิตรสาร
นิตรสาร SHUTTER PHOTOGRAPHY
Canon EF 24-105 mm f/4L IS USM
ในบรรดาเลนส์เกรดโปรของผู้ผลิตกล้องและเลนส์ แคนนอนเป็นผู้ผลิตที่สร้างอิมเมจของเลนส์เกรดโปรได้ชัดเจนที่สุด เลนส์อนุกรม L ของแคนนอนนั้นเป็นเลนส์ที่มืออาชีพทั่วโลกยอมรับ ทั้งในเรื่องคุณภาพ การออกแบบ โครงสร้างและการใช้งาน ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมมืออาชีพและระดับจริงจังที่ใช้กล้องแคนนอนจึงเลือกใช้แต่เลนส์แคนนอนอนุกรม L เท่านั้น และไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเลนส์ L จึงเป็นเลนส์ในฝันของมือสมัครเล่นที่มีงบน้อย ซึ่งจำเป็นต้องใช้เลนส์เกรดธรรมดาของแคนนอน หรือเลนส์โปรของผู้ผลิตเลนส์อิสระสำหรับเลนส์ซูมช่วง WIDE-TELE แล้ว แคนนอนมีเลนส์ช่วงนี้ไม่กี่รุ่น นับตั้งแต่ผลิตกล้องออโตโฟกัสตัวแรกออกมาเมื่อ 19 ปีก่อน คือ Canon EF 28-80 มม. f/2.8-4 L เลนส์ซูมไวด์-เทเลเกรดโปรตัวแรก ความสว่างค่อนข้างสูง คุณภาพดี แต่ใช้มอเตอร์ USM เวอร์ชันแรกที่ต้องขับชุดโฟกัสด้วยไฟฟ้าตลอดเวลา จึงใช้งานไม่เวิร์คนัก ถัดมาเป็นเลนส์ซูมยอดนิยมตลอดหนึ่งทศวรรษเต็ม คือ Canon EF 28-70 มม. f/2.8 L USM เลนส์ซูมที่ให้คุณภาพในระดับเกือบเทียบเท่าเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียว ความสว่างสูงระดับ f/2.8 ตลอดช่วง มอเตอร์ USM ใหม่ที่ปรับโฟกัสใกล้สุดให้เข้าใกล้ได้มากกว่าเดิม เลนส์รุ่นนี้ได้รับความนิยมสูงและเป็น 1 ใน 3 ของเลนส์ชุดโปรที่มืออาชีพใช้กัน (17-35, 28-70 และ 70-200 f/2.8)ต่อมาแคนนอนพัฒนาเลนส์ซูมไวด์-เทเลใหม่ โดยขยายทางยาวโฟกัสช่วงไวด์จาก 28 มม. เป็น 24 มม. ช่วงซูมท้ายยังเป็น 70 มม. เท่าเดิม 4 มม. ที่เพิ่มขึ้นมาอาจดูว่าน้อย แต่มืออาชีพจะทราบดีว่าความกว้างของมุมรับภาพที่ได้จากเลนส์ 24 มม. มากกว่าเลนส์ 28 มม. ถึง 10 องศา ซึ่งจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเมื่อถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ภาพทิวทัศน์หรือภาพภายในสถานที่ แคนนอน EF 24-70 มม. f/2.8 L USM จึงเป็นเลนส์ที่มืออาชีพสนใจกันมากรุ่นหนึ่ง แม้ช่วงซูมต้นจะทับกับเลนส์ซูมมุมกว้าง ช่วง 16-35 มม. หรือ 17-35 มม. ก็ตามแต่ยังมีนักถ่ายภาพอีกกลุ่มหนึ่งที่อยากได้เลนส์ซูมที่มีช่วงกว้างกว่า 24-70 มม. เพื่อให้ช่วงซูมท้ายถ่ายภาพพอร์เทรตได้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของการบีบฉากหลัง สัดส่วนภาพ และความบิดเบี้ยวที่น้อยกว่าเมื่อถ่ายภาพบุคคลในระยะใกล้มากๆ นักถ่ายภาพกลุ่มนี้ต้องการเลนส์ซูมประเภทตัวเดียวใช้ถ่ายภาพได้ดีทั้งภาพหมู่ ภาพครึ่งตัว และเฉพาะใบหน้าโดยไม่ต้องถอดเปลี่ยนเลนส์บ่อยๆแคนนอนตอบสนองความต้องการของนักถ่ายภาพกลุ่มนี้ด้วยเลนส์ซูมที่ช่วงซูมเร้าใจคือ EF 24-105 มม. f/4 L USM IS หากดูที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุดของเลนส์อาจรู้สึกว่า ความสว่างน้อยไปหน่อย น่าจะทำได้ที่ f/2.8 เหมือน EF 24-70 มม.ยากครับ...หากต้องการช่วงซูมกว้างก็ต้องแลกด้วยความสว่างของเลนส์ เพราะถ้าจะออกแบบให้เลนส์ 24-105 มม. มีขนาดรู้รับแสงกว้างสุด f/2.8 ตลอดช่วง ขนาดของเลนส์ใหญ่โตมาก น้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัม และราคาขายไม่น่าจะต่ำกว่าแปดหมื่นบาท แต่ถ้าจะเอาเล็กด้วย ดีด้วย ไม่แพงมากนักด้วยล่ะก็ นี่คือจุดที่ลงตัวมากที่สุดแล้วเลนส์รุ่นนี้ แม้จะมีขนาดรูรับแสงกว้างสุด f/4 ตลอดช่วง แต่ก็ใส่ระบบลดการสั่นไหวของภาพ (image Stabilizer) ให้มาด้วย ดังนั้นมันจึงเป็นเลนส์ที่ใช้งานสะดวกคล่องตัวในทุกสภาพแสงFIRST LOOK แคนนอน EF 24-105 มม. มีขนาดใหญ่และหนัก ขนาดของกระบอกเลนส์ใกล้เคียงกับ EF 24-70 มม. การออกแบบภายนอกทำได้ลงตัว โดยเฉพาะเมมื่อไม่ได้ซูมออกมันจะดูสวยถูกใจผมมากเป็นพิเศษ แต่เมื่อซูมออกความสวยจะลดลงไปบ้าง เพราะระบบซูมไม่ได้เป็นแบบ Internal Zoom เมื่อซูมออก กระบอกจะยื่นออกค่อนข้างมากระบบซูมเป็นแบบ 2 วงแหวน วงแหวนซูมวางอยู่ค่อนไปทางซ้ายของกระบอกเลนส์ มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับขนาดเลนส์ แต่ด้วยการวางตำแหน่งที่ดีทำให้การปรับซูมทำได้สะดวก น้ำหนักในการซูมค่อนข้างหนืด เพราะกระบอกเลนส์หนัก แต่ก็ปรับซูมได้ราบเรียบไม่สะดุด การปรับซูมจาก 24 มม. ไป 105 มม. เป็นแบบหมุนตามเข็มนาฬิกา มีรอบหมุนประมาณ 80 องศาวงแหวนโฟกัสมีขนาดใหญ่กว่าวงแหวนซูมเล็กน้อย วางค่อนข้างไปทางด้านหน้า อยู่ในตำแหน่งที่ปรับได้สะดวก ขนาดของวงแหวนกำลังดีครับ ไม่ใหญ่เกินไม่เล็กเกิน การปรับโฟกัสจากอินฟินิตี้ไปใกล้สุดเป็นหมุนทวนเข็มนาฬิกา ระยะโฟกัสใกล้สุดทำได้ 0.45 วงแหวนโฟกัสของเลนส์รุ่นนี้สามารถปรับโฟกัสแลลแมนนวลได้ตลอดเวลา น้ำหนักในการปรับหมุนกำลังดี ปรับได้ราบเรียบระบบโฟกัสเป็นแบบ Internal Focus (IF) หน้าเลนส์จะไม่หมุนตามการโฟกัสและไม่ยืดออก ทำให้ใช้ฟิลเตอร์ PL ได้สะดวก การปรับเปลี่ยนโหมดโฟกัส AF/M ทำได้โดยเลื่อนสวิทช์ปรับโหมด AF ที่ส่วนกลางของกระบอกเลนส์ระบบ IS ของเลนส์รุ่นนี้ทำงานแบบออฟติคัล โดยใช้ไจโลเซนเซอร์ตรวจสอบอาการสั่นไหวแล้วสั่งการให้ชุดเลนส์ IS ขยับเลื่อนในทิศทางตรงข้ามกับการสั่นไหว เพื่อให้ภาพที่ไปตกระทบ CCD คมชัด ระบบนี้จะลดการสั่นไหวของภาพได้ 3 สตอป เมื่อเทียบกับกฎ 1/ทางยาวโฟกัสโครงสร้างระบบออฟติค ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 18 ชิ้น จัดเป็น 13 กลุ่ม มีการใช้เลนส์ SUPER UD (Ultra Low Dispersion) เพื่อลดความคลาดสีและใช้ชิ้นเลนส์แอสเฟอริคัลเพื่อลดความคลาดทรงกลม ทำให้ได้ภาพคมชัดคอนทราสต์สูงระบบการโค้ทผิวเลนส์เป็นแบบ Super Spectra Coatings เพื่อลดแสงฟุ้งและภาพหลอนให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลดีทั้งกับการใช้กับกล้องระบบฟิล์มและกล้องดิจิตอล (สำหรับเลนส์รุ่นี้ ในล็อตแรกที่ผลิตออกมาจะมีปัญหาในเรื่องแสงฟุ้งเป็นลำ เมื่อใช้รูรับแสงกว้างที่ช่วงไวด์ โดยเลนส์ที่มีรหัสต่ำกว่า UT 1000 จะมีปัญหานี้ ต้องส่งให้ศูนย์บริการทำการแก้ไข)โครงสร้างของเลนส์รุ่นนี้อยู่ในระดับดีมาก โครงสร้างภายนอกใช้ทั้งโลหะและพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต ด้วยการผลิตและการออกแบบระบบกลไกที่ดี ทำให้มันเป็นเลนส์ที่แข็งแรงและมีระบบกลไกที่ดี ทำให้มันเป็นเลนส์ที่แข็งแรงและมีระบบกลไกที่ดี งานการผลิตอยู่ในระดับเดียวกับเลนส์ L อย่าง 28-70 มม. f/2.8 L และ 24-70 มม. f/2.8 Lเช่นเดียวกับเลนส์ L ทั้งหมด เลนส์รุ่นนี้ออกแบบให้สามารถใช้ได้กับกล้องฟิล์มและกล้องดิจิตอล โดยเมื่อใช้กับกล้องดิจิตอลระดับโปรรุ่น EOS 1DS ML II N หรือกล้องกึ่งโปรรุ่น EOS 5D ที่ใช้เซนเซอร์แบบฟลูเฟรม จะได้ทางยาวโฟกัสเต็มๆ คือ 24-125 มม. ซึ่งนับว่าจะได้ประโยชน์สูงสุดจากเลนส์รุ่นนี้ ส่วนกล้องโปรที่ใช้เซนเซอร์ที่มีตัวคูณ 1.3X อย่างรุ่น EOS 1DS ML II N นั้น ทางยาวโฟกัสจะเปลี่ยนเป็น 31.2-136.5 มม. ส่วนกล้องดิจิตอล SLR รุ่นเล็กหรือรุ่นกลางๆ อย่าง EOS 350D และ EOS 30D จะได้ทางยาวโฟกัสเป็น 38.4-168 มม.แปลนเมาท์ของเลนส์รุ่นนี้ ออกแบบให้ป้องกันน้ำโดยใช้ซีลยางยื่นออกมาจากขอบของแปลนเมาท์ การซีลที่จุดต่างๆ ดีเพียงพอที่จะให้งานในขณะมีละอองฝนได้ผลการใช้งาน สิ่งที่น่าสนใจของเลนส์รุ่นนี้คือช่วงซุม และผู้ที่จะสนใจเลนส์รุ่นนี้ก็คือ ผู้ที่ใช้กล้องฟิล์มของแคนนอนอยู่เพราะทางยาวโฟกัส 24-105 มม. กับ f/4 คงที่ตลอดช่วงซูมนั้น หาไม่ได้จากผู้ผลิตรายใด ขนาดรูรับแสง f/4 นับว่าสว่างเพียงพอสำหรับเลนส์ช่วงนี้ เพราะโอกาสที่จะเปิดรู้รับแสงกว้างกว่า f/4 มีไม่มากนักสำหรับเลนส์ช่วงมุมกว้างผลได้รับเลนส์รุ่นนี้มาพร้อมกับกล้อง CANON EOS 1DS ML II N กล้องดิจิตอลความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ที่มีตัวคูณทางยาวโฟกัส 1.3X ทางยาวโฟกัสที่เปลี่ยนเป็น 31.2-136.5 มม. นั้น ยังนับว่าใช้ประโยชน์ได้ดีพอควร หากเป็นกล้องที่ใช้ใช้เซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรมน่าจะใช้งานได้สนุกกว่านี้ กับ CANON EOS 1DS ML II N ผมบันทึกภาพทั้งหมดด้วยไฟล์ RAW+JPEG (L) ไฟล์ที่นำมาใช้งานจะเป็นไฟล์ RAW ที่ PROCESS โดยซอฟท์แวร์ PHOTOSHOP CS2 เลนส์รุ่นนี้แม้จะมีขนาดใหญ่ แต่เมือนำไปสวมกับอดี้รุ่นนี้ ขนาดของเลนส์ดูเล็กไปถนัดตาดูลงตัวและสมดุลมากเมื่อใช้กับ CANON EOS 1DS ML II N การควบคุมวงแหวนซูมทำได้ดี วงแหวนมีขนาดเล็ก แต่ปรับได้สะดวก วงแหวนซูมค่อนข้างหนืด แต่ก็ปรับได้ราบเรียนดี วงแปนวโฟกัสปรับได้นุ่มนวลระบบโฟกัสของเลนส์รุ่นนี้ ทำงานได้รวดเร็วและเงียบตามมาตรฐานของเลนส์ L การตอบสนองของระบบโฟกัสทำได้ดี การล็อกทำได้แน่นอน ไม่มีอาการยึกยัก และด้วยการใช
ที่มา : The Camera City
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)