WELCOME !
สวัสดีครับ
หลายคนที่เข้ามา Blog ผม อาจจะสงสัยว่า
ทำไม Blog นี้ มีแต่เรื่อง กล้อง
ก้คือ ผมชอบมันนะครับ : )
หลายคนที่เข้ามา Blog ผม อาจจะสงสัยว่า
ทำไม Blog นี้ มีแต่เรื่อง กล้อง
ก้คือ ผมชอบมันนะครับ : )
มด macro
ตั๊กแตน macro
21 มกราคม 2551
Canon EF 24-105 mm f/4L IS USM
ในบรรดาเลนส์เกรดโปรของผู้ผลิตกล้องและเลนส์ แคนนอนเป็นผู้ผลิตที่สร้างอิมเมจของเลนส์เกรดโปรได้ชัดเจนที่สุด เลนส์อนุกรม L ของแคนนอนนั้นเป็นเลนส์ที่มืออาชีพทั่วโลกยอมรับ ทั้งในเรื่องคุณภาพ การออกแบบ โครงสร้างและการใช้งาน ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมมืออาชีพและระดับจริงจังที่ใช้กล้องแคนนอนจึงเลือกใช้แต่เลนส์แคนนอนอนุกรม L เท่านั้น และไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเลนส์ L จึงเป็นเลนส์ในฝันของมือสมัครเล่นที่มีงบน้อย ซึ่งจำเป็นต้องใช้เลนส์เกรดธรรมดาของแคนนอน หรือเลนส์โปรของผู้ผลิตเลนส์อิสระสำหรับเลนส์ซูมช่วง WIDE-TELE แล้ว แคนนอนมีเลนส์ช่วงนี้ไม่กี่รุ่น นับตั้งแต่ผลิตกล้องออโตโฟกัสตัวแรกออกมาเมื่อ 19 ปีก่อน คือ Canon EF 28-80 มม. f/2.8-4 L เลนส์ซูมไวด์-เทเลเกรดโปรตัวแรก ความสว่างค่อนข้างสูง คุณภาพดี แต่ใช้มอเตอร์ USM เวอร์ชันแรกที่ต้องขับชุดโฟกัสด้วยไฟฟ้าตลอดเวลา จึงใช้งานไม่เวิร์คนัก ถัดมาเป็นเลนส์ซูมยอดนิยมตลอดหนึ่งทศวรรษเต็ม คือ Canon EF 28-70 มม. f/2.8 L USM เลนส์ซูมที่ให้คุณภาพในระดับเกือบเทียบเท่าเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียว ความสว่างสูงระดับ f/2.8 ตลอดช่วง มอเตอร์ USM ใหม่ที่ปรับโฟกัสใกล้สุดให้เข้าใกล้ได้มากกว่าเดิม เลนส์รุ่นนี้ได้รับความนิยมสูงและเป็น 1 ใน 3 ของเลนส์ชุดโปรที่มืออาชีพใช้กัน (17-35, 28-70 และ 70-200 f/2.8)ต่อมาแคนนอนพัฒนาเลนส์ซูมไวด์-เทเลใหม่ โดยขยายทางยาวโฟกัสช่วงไวด์จาก 28 มม. เป็น 24 มม. ช่วงซูมท้ายยังเป็น 70 มม. เท่าเดิม 4 มม. ที่เพิ่มขึ้นมาอาจดูว่าน้อย แต่มืออาชีพจะทราบดีว่าความกว้างของมุมรับภาพที่ได้จากเลนส์ 24 มม. มากกว่าเลนส์ 28 มม. ถึง 10 องศา ซึ่งจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเมื่อถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ภาพทิวทัศน์หรือภาพภายในสถานที่ แคนนอน EF 24-70 มม. f/2.8 L USM จึงเป็นเลนส์ที่มืออาชีพสนใจกันมากรุ่นหนึ่ง แม้ช่วงซูมต้นจะทับกับเลนส์ซูมมุมกว้าง ช่วง 16-35 มม. หรือ 17-35 มม. ก็ตามแต่ยังมีนักถ่ายภาพอีกกลุ่มหนึ่งที่อยากได้เลนส์ซูมที่มีช่วงกว้างกว่า 24-70 มม. เพื่อให้ช่วงซูมท้ายถ่ายภาพพอร์เทรตได้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของการบีบฉากหลัง สัดส่วนภาพ และความบิดเบี้ยวที่น้อยกว่าเมื่อถ่ายภาพบุคคลในระยะใกล้มากๆ นักถ่ายภาพกลุ่มนี้ต้องการเลนส์ซูมประเภทตัวเดียวใช้ถ่ายภาพได้ดีทั้งภาพหมู่ ภาพครึ่งตัว และเฉพาะใบหน้าโดยไม่ต้องถอดเปลี่ยนเลนส์บ่อยๆแคนนอนตอบสนองความต้องการของนักถ่ายภาพกลุ่มนี้ด้วยเลนส์ซูมที่ช่วงซูมเร้าใจคือ EF 24-105 มม. f/4 L USM IS หากดูที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุดของเลนส์อาจรู้สึกว่า ความสว่างน้อยไปหน่อย น่าจะทำได้ที่ f/2.8 เหมือน EF 24-70 มม.ยากครับ...หากต้องการช่วงซูมกว้างก็ต้องแลกด้วยความสว่างของเลนส์ เพราะถ้าจะออกแบบให้เลนส์ 24-105 มม. มีขนาดรู้รับแสงกว้างสุด f/2.8 ตลอดช่วง ขนาดของเลนส์ใหญ่โตมาก น้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัม และราคาขายไม่น่าจะต่ำกว่าแปดหมื่นบาท แต่ถ้าจะเอาเล็กด้วย ดีด้วย ไม่แพงมากนักด้วยล่ะก็ นี่คือจุดที่ลงตัวมากที่สุดแล้วเลนส์รุ่นนี้ แม้จะมีขนาดรูรับแสงกว้างสุด f/4 ตลอดช่วง แต่ก็ใส่ระบบลดการสั่นไหวของภาพ (image Stabilizer) ให้มาด้วย ดังนั้นมันจึงเป็นเลนส์ที่ใช้งานสะดวกคล่องตัวในทุกสภาพแสงFIRST LOOK แคนนอน EF 24-105 มม. มีขนาดใหญ่และหนัก ขนาดของกระบอกเลนส์ใกล้เคียงกับ EF 24-70 มม. การออกแบบภายนอกทำได้ลงตัว โดยเฉพาะเมมื่อไม่ได้ซูมออกมันจะดูสวยถูกใจผมมากเป็นพิเศษ แต่เมื่อซูมออกความสวยจะลดลงไปบ้าง เพราะระบบซูมไม่ได้เป็นแบบ Internal Zoom เมื่อซูมออก กระบอกจะยื่นออกค่อนข้างมากระบบซูมเป็นแบบ 2 วงแหวน วงแหวนซูมวางอยู่ค่อนไปทางซ้ายของกระบอกเลนส์ มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับขนาดเลนส์ แต่ด้วยการวางตำแหน่งที่ดีทำให้การปรับซูมทำได้สะดวก น้ำหนักในการซูมค่อนข้างหนืด เพราะกระบอกเลนส์หนัก แต่ก็ปรับซูมได้ราบเรียบไม่สะดุด การปรับซูมจาก 24 มม. ไป 105 มม. เป็นแบบหมุนตามเข็มนาฬิกา มีรอบหมุนประมาณ 80 องศาวงแหวนโฟกัสมีขนาดใหญ่กว่าวงแหวนซูมเล็กน้อย วางค่อนข้างไปทางด้านหน้า อยู่ในตำแหน่งที่ปรับได้สะดวก ขนาดของวงแหวนกำลังดีครับ ไม่ใหญ่เกินไม่เล็กเกิน การปรับโฟกัสจากอินฟินิตี้ไปใกล้สุดเป็นหมุนทวนเข็มนาฬิกา ระยะโฟกัสใกล้สุดทำได้ 0.45 วงแหวนโฟกัสของเลนส์รุ่นนี้สามารถปรับโฟกัสแลลแมนนวลได้ตลอดเวลา น้ำหนักในการปรับหมุนกำลังดี ปรับได้ราบเรียบระบบโฟกัสเป็นแบบ Internal Focus (IF) หน้าเลนส์จะไม่หมุนตามการโฟกัสและไม่ยืดออก ทำให้ใช้ฟิลเตอร์ PL ได้สะดวก การปรับเปลี่ยนโหมดโฟกัส AF/M ทำได้โดยเลื่อนสวิทช์ปรับโหมด AF ที่ส่วนกลางของกระบอกเลนส์ระบบ IS ของเลนส์รุ่นนี้ทำงานแบบออฟติคัล โดยใช้ไจโลเซนเซอร์ตรวจสอบอาการสั่นไหวแล้วสั่งการให้ชุดเลนส์ IS ขยับเลื่อนในทิศทางตรงข้ามกับการสั่นไหว เพื่อให้ภาพที่ไปตกระทบ CCD คมชัด ระบบนี้จะลดการสั่นไหวของภาพได้ 3 สตอป เมื่อเทียบกับกฎ 1/ทางยาวโฟกัสโครงสร้างระบบออฟติค ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 18 ชิ้น จัดเป็น 13 กลุ่ม มีการใช้เลนส์ SUPER UD (Ultra Low Dispersion) เพื่อลดความคลาดสีและใช้ชิ้นเลนส์แอสเฟอริคัลเพื่อลดความคลาดทรงกลม ทำให้ได้ภาพคมชัดคอนทราสต์สูงระบบการโค้ทผิวเลนส์เป็นแบบ Super Spectra Coatings เพื่อลดแสงฟุ้งและภาพหลอนให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลดีทั้งกับการใช้กับกล้องระบบฟิล์มและกล้องดิจิตอล (สำหรับเลนส์รุ่นี้ ในล็อตแรกที่ผลิตออกมาจะมีปัญหาในเรื่องแสงฟุ้งเป็นลำ เมื่อใช้รูรับแสงกว้างที่ช่วงไวด์ โดยเลนส์ที่มีรหัสต่ำกว่า UT 1000 จะมีปัญหานี้ ต้องส่งให้ศูนย์บริการทำการแก้ไข)โครงสร้างของเลนส์รุ่นนี้อยู่ในระดับดีมาก โครงสร้างภายนอกใช้ทั้งโลหะและพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต ด้วยการผลิตและการออกแบบระบบกลไกที่ดี ทำให้มันเป็นเลนส์ที่แข็งแรงและมีระบบกลไกที่ดี ทำให้มันเป็นเลนส์ที่แข็งแรงและมีระบบกลไกที่ดี งานการผลิตอยู่ในระดับเดียวกับเลนส์ L อย่าง 28-70 มม. f/2.8 L และ 24-70 มม. f/2.8 Lเช่นเดียวกับเลนส์ L ทั้งหมด เลนส์รุ่นนี้ออกแบบให้สามารถใช้ได้กับกล้องฟิล์มและกล้องดิจิตอล โดยเมื่อใช้กับกล้องดิจิตอลระดับโปรรุ่น EOS 1DS ML II N หรือกล้องกึ่งโปรรุ่น EOS 5D ที่ใช้เซนเซอร์แบบฟลูเฟรม จะได้ทางยาวโฟกัสเต็มๆ คือ 24-125 มม. ซึ่งนับว่าจะได้ประโยชน์สูงสุดจากเลนส์รุ่นนี้ ส่วนกล้องโปรที่ใช้เซนเซอร์ที่มีตัวคูณ 1.3X อย่างรุ่น EOS 1DS ML II N นั้น ทางยาวโฟกัสจะเปลี่ยนเป็น 31.2-136.5 มม. ส่วนกล้องดิจิตอล SLR รุ่นเล็กหรือรุ่นกลางๆ อย่าง EOS 350D และ EOS 30D จะได้ทางยาวโฟกัสเป็น 38.4-168 มม.แปลนเมาท์ของเลนส์รุ่นนี้ ออกแบบให้ป้องกันน้ำโดยใช้ซีลยางยื่นออกมาจากขอบของแปลนเมาท์ การซีลที่จุดต่างๆ ดีเพียงพอที่จะให้งานในขณะมีละอองฝนได้ผลการใช้งาน สิ่งที่น่าสนใจของเลนส์รุ่นนี้คือช่วงซุม และผู้ที่จะสนใจเลนส์รุ่นนี้ก็คือ ผู้ที่ใช้กล้องฟิล์มของแคนนอนอยู่เพราะทางยาวโฟกัส 24-105 มม. กับ f/4 คงที่ตลอดช่วงซูมนั้น หาไม่ได้จากผู้ผลิตรายใด ขนาดรูรับแสง f/4 นับว่าสว่างเพียงพอสำหรับเลนส์ช่วงนี้ เพราะโอกาสที่จะเปิดรู้รับแสงกว้างกว่า f/4 มีไม่มากนักสำหรับเลนส์ช่วงมุมกว้างผลได้รับเลนส์รุ่นนี้มาพร้อมกับกล้อง CANON EOS 1DS ML II N กล้องดิจิตอลความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ที่มีตัวคูณทางยาวโฟกัส 1.3X ทางยาวโฟกัสที่เปลี่ยนเป็น 31.2-136.5 มม. นั้น ยังนับว่าใช้ประโยชน์ได้ดีพอควร หากเป็นกล้องที่ใช้ใช้เซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรมน่าจะใช้งานได้สนุกกว่านี้ กับ CANON EOS 1DS ML II N ผมบันทึกภาพทั้งหมดด้วยไฟล์ RAW+JPEG (L) ไฟล์ที่นำมาใช้งานจะเป็นไฟล์ RAW ที่ PROCESS โดยซอฟท์แวร์ PHOTOSHOP CS2 เลนส์รุ่นนี้แม้จะมีขนาดใหญ่ แต่เมือนำไปสวมกับอดี้รุ่นนี้ ขนาดของเลนส์ดูเล็กไปถนัดตาดูลงตัวและสมดุลมากเมื่อใช้กับ CANON EOS 1DS ML II N การควบคุมวงแหวนซูมทำได้ดี วงแหวนมีขนาดเล็ก แต่ปรับได้สะดวก วงแหวนซูมค่อนข้างหนืด แต่ก็ปรับได้ราบเรียนดี วงแปนวโฟกัสปรับได้นุ่มนวลระบบโฟกัสของเลนส์รุ่นนี้ ทำงานได้รวดเร็วและเงียบตามมาตรฐานของเลนส์ L การตอบสนองของระบบโฟกัสทำได้ดี การล็อกทำได้แน่นอน ไม่มีอาการยึกยัก และด้วยการใช
ที่มา : The Camera City
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น